G+

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Sitemap คืออะไร ?

Sitemap แปลเป็นภาษาไทยแบบบ้านๆ ว่า แผนที่เว็บไซต์ หรือ แผงผังเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ก็คือความหมายตรงๆ ของคำที่แปลเป็นภาษาไทยก็คือแผนที่ของเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ในเว็บไซต์จะต้องอธิบายโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine (Google,Yahoo) และผู้ใช้งานทั่วไปด้วย ซึ่งในหน้า Sitemap นี้จะเป็นการรวม Link ทั้งหมดภายในเว็บไซต์ให้อยู่เพียงหน้านี้หน้าเดียว

เครดิต sutenm

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Alexa Rank คือ อะไร ?

Alexa Rank คือ อันดับเว็บทั่วโลกที่อยู่บนเว็บของ Alexa ตัวเลขแสดงอันดับของการเข้าชมเว็บไซต์ ในค่าของ Alexa Rank นี้ ได้มาจากการคำนวณ ตาม Traffic ที่มาจาก UIP ที่เป็นผู้ใช้อยู่ทั่วไปนั่นเอง (โดยคิดคำนวณในระยะเวลา 3 เดือนต่อครั้ง) และจะเห็นได้ว่า Alexa Rank ของเว็บไซต์ที่มีค่าน้อย จะดีกว่า Alexa Rank ของเว็บไซต์ที่มีค่ามาก

เครดิต buddy2u

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคในการสร้าง/เพิ่ม PR และ SERP


1.การวางโครงสร้างที่ดี - ในส่วนนี้ ผมเคยกล่าวถึงไปแล้ว กล่าวคือ การทำ On Page Factor ให้ดูดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งตรงนี้จะกล่าวถึง การวางกลุ่มเป้าหมายของคีย์เวิร์คที่เราต้องการ, การจัดวางคอนเท้นต์ภายในหน้าเว็บ, การวางหัวข้อของเนื้อหา, การจัดวางเนื้อหาทั้งหมด ตรงนี้ดูเหมือนซับซ้อนวกวาน แต่ง่ายๆครับ .. จัดวางให้เป็นอ่านง่าย ไม่ซับซ้อนไม่ว่าจะทางโค้ดดิ้ง (เขียนโค้ด) และการอ่านจริง (ให้ผู้เยี่ยมชมอ่าน)

2.การออกแบบที่ดี - หลังจากโครงสร้างเว็บไซต์ดีแล้ว เราควรจะใช้ธีม/ตีมที่เป็นมิตรกับ Search Engine ด้วย, การวางโครงสร้างลิ้งไม่ว่าจะเป็นภายในและภายนอก (Internal & External Link) เราควรจะดูแลและให้ความสำัคัญในส่วนนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว และเมื่อย้อนกลับมาที่ ธีม ของเว็บแล้ว .. ต้องไม่ลืมว่า เทคนิคเล็กน้อยๆที่(ผม)เรียนรู้ได้จากการสังเกตุก็คือ .. หากเว็บใดมีทราฟฟิกจำนวนมาก เมื่อมีพลังจากธีมที่มิตรกับ Search Engine .. คุณจะได้รับพลังจาก SE ให้มีอันดับ SERP (Search Engine Report Page) ดีๆได้โดยที่คุณไม่ต้องออกแรงโปรโมทมากเลยทีเดียว

3.คอนเท้นต์ - การที่เคยได้ยินจากคำบอกต่อว่า เมื่อทราฟฟิกคือพระเจ้าแล้ว คอนเท้นต์เนี้ยแหละตัวแม่เลยครับ การสร้างคอนเท้นต์ที่ไม่ซ้ำ ไม่คัดลอก และไม่มีใครเหมือนจะเป็นตัวฉุดเว็บเราให้มีพลังในการอยู่ Ranking สูงๆบน Search Engine ได้เลย

4.Backlinks - กลับมาเรื่องเดิมๆอีกครั้ง .. การสร้างลิ้งกลับมายังเว็บเรายังเป็นเรื่องสำคัญมากๆในการทำ SEO เพราะขาดลิ้งก็คล้ายกันว่าเราขาดใจ ! .. แต่ต้องไม่ลืิมนะครับว่ายิ่้งต่าง Class C IP มากเท่าไหร่ ยิ่งเจ๋ง!

เครดิต seoinw

หากเว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงก์มายังเว็บไซต์เรามี ค่า PR ต่ำ จะส่งผลกระทบต่อค่า PR ของเว็บไซต์เราหรือไม่ ?


การที่มีเว็บเพจเชื่อมโยงมาหาเว็บคุณจำนวนมากขึ้นนั้น โดยที่เว็บเพจนั้นๆมีค่า PR ระหว่าง 0-3 จะไม่ส่งผลกระทบต่อค่า PR ของเว็บคุณในทันที แต่เหมือนกับสะสมคะแนนไปเรื่อยๆ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว ยิ่งเว็บเพจที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์คุณมีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ กับเว็บไซต์คุณมากเท่าใด ยังส่งผลดีมากกว่า เว็บเพจที่มีเนื้อหาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์คุณเลยแต่มีค่า PR สูง และเชื่อมโยงลิงก์มาหาเว็บคุณ อย่าลืมว่า PageRank เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งในการจัดลำดับความสำคัญของเว็บเพจหนึ่งๆเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกด้วย เว็บที่มีค่า PR ต่ำๆ จะทำให้ค่า PR ของเว็บไซต์เรา ลดลงหรือไม่ ?
คำตอบคือ ไม่อย่างแน่นอน การแลกลิงก์กับเว็บไซต์ที่มีค่า PR ต่ำ (อาจเป็นเว็บที่เพิ่งเปิดตัว เป็นต้น) แต่มีเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับเว็บไซต์คุณอาจทำให้ PR ของเว็บไซต์ของทั้งสองแห่งเพิ่มขึ้นพร้อมๆกันก็เป็นไปได้ แต่อย่าเข้าร่วมกับโปรแกรมแลกเปลี่ยนลิงก์ใดๆที่เป็นการโกงเสิร์ชเอนจิ้น ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์คุณถูกถอนออกจากฐานข้อมูลของเสิร์ชเอนจิ้นในทีสุด ค่า PR เราตกลงได้หรือไม่ ? ค่า PageRank สามารถลดลงได้ หากเว็บไซต์คุณมีจำนวนลิงก์ที่เชื่อมโยงมาหาเว็บไซต์คุณน้อยลง ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงมาหาคุณมีค่า PR ลดลงก็เป็นได้

เครดิต truehits

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ส่งผลให้ค่า PR เพิ่มขึ้นหรือไม่ ?


คำตอบคือไม่ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือ หากคุณสามารถทำให้มีเว็บลิงก์มายังเว็บคุณได้มากขึ้นเท่าไหร่ PR ของเว็บคุณก็จะสูงมากขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้หากคุณนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในเว็บเพจนั้นๆ นั่นหมายความว่า คุณอาจได้รับการขอแลกลิงก์จากเว็บมาสเตอร์คนอื่นๆมายังเว็บไซต์คุณก็เป็นได้ ซึ่งเท่ากับเพิ่มจำนวนลิงก์ให้มากขึ้นในที่สุด เนื้อหาของเว็บเพจที่ลิงก์มายังเว็บไซต์คุณ มีผลอย่างไรต่อค่า PR ? หากเว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงก์มายังเว็บคุณ มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเว็บไซต์คุณมากเท่าใด Google จะพิจารณาให้ค่า PR ของเว็บคุณสูงยิ่งขึ้น

เครดิต truehits

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำอย่างไรถึงจะได้ค่า PR เพิ่มขึ้น ?

 ค่า PR นั้นจะเพิ่มขึ้นได้ในแต่ละขั้นจาก 1 ไป 2 , จาก 2 ไป 3,... , จาก 9 ไป 10 นั้น มีกฏเกณฑ์ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ไม่ได้เป็นลักษณะเช่น คุณมีเว็บที่เชื่อมโยงลิงก์มาหาเว็บไซต์ คุณจาก 50 Inbound Link เป็น 100 Inbound Link (เพิ่มขึ้น 50 หน่วย) เว็บเพจนั้นๆอาจมีค่า PR เพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น PR 3 แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ค่า PR 3 จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น PR 4 โดย ที่คุณมี Inbound Link เพิ่มจาก 100 เป็น 150 (เพิ่มขึ้น 50 หน่วย) เสมอไป อาจต้องมี Inbound Link เพิ่มขึ้นถึง 200 หน่วย ค่า PR ถึงจะเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นในค่า PR ในแต่ละขั้นนั้น เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความรู้ ความพยายามเป็นอย่างมาก

เครดิต truehits

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Google คำนวณค่า PR อย่างไร ?


ค่า PR ถูกคำนวณ โดยจำนวนลิงก์ของเว็บไซต์อื่นๆ ที่เชื่อมลิงก์มายังเว็บไซต์ของคุณ (Inbound Link) ทั้งนี้คำนึงถึงคุณภาพ (คุณภาพของลิงก์หมายถึง เว็บเพจที่ลิงก์มาหาคุณมีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาใน เว็บไซต์ของคุณ ) และค่า PR ของเว็บไซต์ที่ลิงก์มายังเว็บไซต์คุณด้วย ยิ่งเว็บไซต์ที่ลิงก์มาหาคุณมี PR สูงๆ ค่า PR ของเว็บคุณก็มีแนวโน้มที่จะสูงตามไปด้วย ค่า PageRank นั้นใช้วิธีการเดียวกับระบบการโหวต หนึ่งลิงก์ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งมีค่า PR สูงเท่าใด Google ยิ่งเห็นความสำคัญของเว็บเพจนั้นๆมากยิ่งขึ้น และหากมีลิงก์มาจำนวนมากลิงก์มายังเว็บไซต์คุณ ค่า PR เว็บคุณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ค่า PR นั่นแสดงค่าทุกๆหน้าของเว็บไซต์เราใช่หรือไม่ ? ค่า PR ของแต่ละเว็บเพจ ในเว็บไซต์หนึ่งๆ นั้นจะมีค่าแตกต่างกันไป ทั้งนี้ โดยมากโฮมเพจ มักมีค่า PR สูงกว่าหน้าอื่นๆ แต่ก็ไม่เสมอไป

เครดิต truehits

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Google PageRank (PR) คืออะไร ?

Google Pagerank หรือ Google PR คือ ค่าลำดับคะแนนที่ Google ประเมินให้กับคุณภาพของเนื้อหา ในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า ที่ปรากฎ อยู่ในเว็บไซต์ โดยคะแนนที่ปรากฎจะอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี PageRank สูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า สำหรับหน้าเว็บเพจที่ไม่มีค่า Pagerank ระบบจะแจ้งเป็น “No PageRank information available” (N/A)

* หัวใจ ของ PageRank คือ แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ ให้มาก และถ้าเป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บเรา และ เป็นเว็บที่มีค่า PR สูง ยิ่งทำให้เว็บไซต์เรามีค่า PR สูงขึ้นด้วย *

เราสามารถ Check ค่า PageRank ได้ที่เว็บไซต์ http://www.prchecker.info

เครดิต buddy2u, truehits.net

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

IP Class C ในความหมายของ SEO คืออะไร ?

สำหรับ IP Class C ในความหมายของ SEO จะแตกต่างจากความหมายของ Technical Engineer อย่างสิ้นเชิง ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะความหมายของ SEO

โดยปกติแล้ว IP จะเป็นตัวบอกถึงที่อยู่ของเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ โดยแบ่งเป็น 4 Class หรือ 4 ส่วน แต่ละส่วนถูกคั่นด้วย จุด (.) คือ aaa.bbb.ccc.ddd โดยแต่ละส่วนนั้นจะเป็นตัวเลข มีค่าตั้งแต่ 0 – 255

ไอพี Class C คือ ไอพี่ ส่วนที่ 3 ก็คือส่วนของ ccc ดังตัวอย่างที่กล่าวมา ซึ่งในเชิง SEO นั้น IP Class C มีความสำคัญคือ โดยปกติแล้วโฮสติ้งแต่ละเจ้าจะมี IP Class C ที่แตกต่างกัน ทาง Google จะมองว่า ถ้าเว็บไซต์หลายๆเว็บมี IP Class C ที่เหมือนกัน ก็แสดงว่าเว็บไซต์เหล่านั้นอยู่บนโฮสตัวเดียวกัน และอาจเป็นเจ้าของคนเดียวกัน ถ้าเรานำเว็บเหล่านั้นมาลิงค์กันเองเยอะๆ Google ก็จะมองว่า เรากำลังพยายามโกงอันดับโดยการนำเว็บมาลิงค์กันเองเพื่อสร้าง Backlink ให้กันและกันระหว่างเว็บไซต์ตัวเอง (ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เว็บที่มี IP Class C เดียวกันอาจจะไม่ใช่เจ้าของคนเดียวกันก็ได้) ตรงนี้ Google ก็เลยมองว่า เว็บที่ดีควรจะมีลิงค์จากเว็บที่ต่าง Class C กัน เพราะถือว่าเป็นลิงค์จากเว็บไซต์ของคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

เมื่อ Google คิดเช่นนี้เหล่าคนทำ SEO ก็เลยต้องพัฒนาตัวเอง หาช่องทางหลีกเลี่ยงให้ได้ จนเกิดเทคนิค ใส่ IP Class C จำนวนเยอะๆลงไปใน Hosting ตัวเดียว แล้วเปิดให้เช่าในราคาถูกเพื่อทำ SEO โดยเฉพาะ ปัจจุบันก็มีคนทำ SEO ที่มีทุนเยอะ จดโดเมน เช่าโฮสติ้งแบบ Multi Class C ในปริมาณเยอะๆ เพื่อนำมาลิงค์กันเอง จนยากแก่การตรวจจับ

แต่ Google ก็ไม่ได้ยอมแพ้ต่อเทคนิคของเหล่า SEO ในปัจจุบัน นอกจาก Class C แล้ว Google ยังพิจารณาถึง MAC Address ของเครื่องอีกด้วย สำหรับ MAC Address นั้น ขออธิบายคร่าวๆคือ รหัสของเครื่อง Hosting และละตัว ซึ่งติดมากับ Hardware ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

โดย IP Class C ที่ดีนั้นจะต้องมาจาก Hosting ที่มี MAC Address ที่ต่างกันอีกด้วย จึงจะได้ผลที่ดี ทั้งนี้ Hosting ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้ เว็บไซต์ประสบความสำเร็จในการทำ SEO เราต้องปรับร่วมกับปัจจัยอื่นอย่างเหมาะสมจึงจะได้ผลดีที่สุด

เครดิต one.in.th

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ SEO ตอนที่ 2

6. อย่าเชื่อผู้อื่นมากเกินไป ในการทำ SEO นั้น ทักษะ เกิดจากการปฏิบัติด้วยตนเอง การเชื่อคำกล่าวอ้าง หรือแม้ตำราโดยไม่ลองทำเอง อาจไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง บางครั้ง ปัจจัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบการทำ Link Wheel ที่อ้างกันว่าเป็นระบบที่ดี ในบางครั้งกลับกลายเป็นฆ่าตัวเองเพราะ Link Wheel เหล่านั้นมาจากโฮสต์ IP และผู้ทำเว็บชุดเดียวกัน กลับกลายเป็น wheel ซ้อน และเป็นลิงค์ย้อนกลับหรือ ลิงค์แบบสามเหลี่ยม ไร้ประโยชน์เลยก็ได้ หรือแม้กระทั่งข่าวที่ีการเปลี่ยน Algo ทั้งหลายทั้งปวง อาจไม่มีผลต่อสิ่งที่เราทำมาเลยก็ได้

7. SEO เป็นเรื่องที่ยาก ต้องจ้างคนทำ อันนี้ผิด ที่จริงแล้ว แค่เพียงเข้ามาอ่านหาความรู้ ไม่กี่สัปดาห์ ก็สามารถเข้าใจได้เกือบ 80% เนื่องจากตำราอ้างอิงเป็นจำนวนมาก (และล้วนเอามาจากที่เดียวกันด้วย) สิ่งที่เรารู้คือ Know How เท่าๆกัน แตกต่างกันที่การลงมือทำเท่านั้นเอง ผมเชื่อว่า ถ้าลงมือทำ เราทำกันได้ทุกคน จะมากหรือน้อยก็ว่ากันไป และสิ่งที่เราทำจะเพิ่มพูนทักษะอยู่ตลอด แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง เราจะเริ่มคิดเองว่า การทำ SEO นั้น แท้จริงคือการตกแต่งกล่องขนมให้น่ากินเท่านั้นเอง แต่รสชาตขนมนั้นคืออีกเรื่อง !

8. ทำ SEO ให้ดี ต้องมีเงินเท่านั้น อันนี้ผิดมหันต์ทั้งผู้ทำ และผู้จ้าง ขอเพียงเวลา จิตใจที่มุ่งมั่น หลักการที่ดี ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมาย ถ้าปรับแต่งถูกจุด ตอบสนองคำถามที่ว่า – ทำอย่างไรเว็บจะเหมาะกับการเข้ามาอยู่ในหน้าแรกได้ – การปรับแต่งแบบที่ไม่ต้องใช้เงิน เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผู้ศึกษาและปฏิบัติ ขอเพียงค้นหา และเข้าถึง เราก็สามารถทำได้

9. SEO ง่ายๆ ใครก็ทำได้ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเช่นกัน โดยเฉพาะน้องใหม่ไฟแรง แต่โหมไฟแรงเกินไปย่อมได้รับประสบการณ์เจ็บปวดไปตามๆกัน มันจะมี Timing อันหนึ่งที่ทดสอบมือใหม่ ซึ่งถ้าผ่านไปได้ก็จะสามารถทำ SEO ให้ดีได้เฉกเช่นเดียวกับมือเก่า SEO นั้นง่ายพอๆกับการเปิด Windows และยากพอๆกับการหาจุดบกพร่องใน Windows ดังนั้น การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาหาจุดบกพร่อง และลงมือแก้ไข คือสิ่งที่ SEO มือใหม่ต้องกระทำ

10. นักทำ SEO มักจะร่ำรวยและมีความเต็มใจในการทำ SEO ไม่ว่าโจทย์จะเป็นอย่างไร ถ้าจ่ายถึง ลองหาคำตอบจากตัวคุณเองและผู้อยู่รอบข้างดูครับว่าจริงทุกคนไหม วลีอมตะอยู่อันหนึ่งคือ ถ้า Big Daddy ไม่รักทำให้ตายก็ไม่ติด กับอีกอันหนึ่งคือ ถ้าคุณร่ำรวยจากการทำ SEO ได้ จะไม่ง่ายกว่าหรือถ้าจะปรับแต่ง SEO เพื่อหาความร่ำรวยจากเว็บของตัวเอง?

เครดิต seo.thaihealth

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ SEO ตอนที่ 1

กระบวนการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization นี้ มีผู้เข้าใจผิดอยู่มากมาย ถึงขั้นมองเห็นแบบตรงข้ามกับที่เหล่านักทำ SEO ทำกันเลยทีเดียว เราลองมาดูกันบ้างว่าความเข้าใจผิดต่อการทำ SEO ที่ผู้ที่ไม่รู้หรือแม้แต่ผู้ที่รู้ ก็ยังเข้าใจผิดอยู่ตลอด

1. ความเชื่อที่ผิดคือ SEO คือการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้แบคลิงค์ แม้ว่า แบคลิงค์จะมีคุณค่า แต่การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้แบคลิงค์ ไม่ว่าจะเป็นการสแปม หรือโพสในเว็บที่ไม่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ทำให้วงการ SEO เป็นที่ติเตียนของนักท่องเว็บ หรือนักทำเว็บ ก็คือการสแปมไปทั่ว ยกตัวอย่างเช่นการโพสในเว็บบอร์ดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง ปั๊มกระทู้ สแปมคอมเมนท์ หรือแม้กระทั่วเว็บ Social Network ก็ตกเป็นเป้าของนักสแปม จนกระทั่งมีคำกล่าวที่น่าตกใจจากนักทำเว็บโฮสติ้งว่า ‘SEO คือการสแปม’ ทั้งๆที่ที่จริงแล้ว แบคลิงค์ที่เราควรจะได้คือแบคลิงค์แบบธรรมชาติ ในเว็บที่เกี่ยวข้องต่างหาก นอกจากการสแปมแล้ว สิ่งที่เป็น Controversy หรือข้อโต้แย้งที่ใหญ่ที่สุดของกระบวนการการได้มาของลิงค์คือ การซื้อขายลิงค์ ทั้งทางตรง หรือทางอ้อม ซึ่งถ้ามองในแง่ความจริง การซื้อขายลิงค์ก็ถือเป็นกลไกธรรมชาติอย่างหนึ่ง ในระบบทุนนิยม แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่มากไปจนผิดธรรมชาติ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการบิดเบือนธรรมชาติของการค้นหาโดย Search Engine เช่นกัน อย่าลืมว่า Search Engine ถือว่าหน้าเว็บค้นหาของเขาคือหน้าบ้าน ถ้าหากมีการเบี่ยงเบนจากเว็บที่มีเงิน แต่ไม่มีคุณภาพ มาหน้าแรกมากๆ ย่อมส่งผลเสียต่อความนิยมของ Search Engine อย่างไม่ต้องสงสัย ดังที่ Matts Cutts วิศวกรของ Google เคยเปรยเอาไว้ว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องควบคุมการซื้อขายลิงค์ และเปิดรับแจ้งเรื่องไปยัง Google อย่างเป็นระบบ

2. ความเชื่อที่ว่าเว็บที่ติดอันดับดี จาก SEO ย่อมจะดีมีคุณค่ากว่า อันนี้เห็นๆกันจากข้อแรกว่า เมื่อมีการปรับแต่งอย่างเต็มที่ เว็บที่ธรรมดา หรือคุณภาพด้อย ก็อาจเข้ามาอยู่ในหน้าแรกๆได้เช่นกัน ถ้ามีเงิน มีเครือข่าย อันนี้ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย Search Engine อยู่ตลอดมาว่าจะทำอย่างไรจึงจะกรองเอาเนื้อหาที่คนใช้ต้องการ อย่างแท้จริง มาอยู่หน้าแรก จะเห็นได้ว่าทรัพยากรจำนวนมากของ Search Engine มากองอยู่ที่การปรับเปลี่ยน Algorithm เพื่อกรองเอาเว็บคุณภาพด้อยเหล่านั้นออกไป

3. ความเชื่อที่ว่า SEO คือการสร้างเว็บ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดจะขาดไปเสียมิได้ จริงอยู่ที่ว่าปัจจุบันเว็บดีๆถึงดีมาก แต่ไร้ซึ่งการปรับแต่งแบบ SEO ก็เปรียบเสมือนเพชรที่อยู่ในทะเลลึกยากจะมีคนเข้าหา การทำเว็บแบบสมัยใหม่ อาศัยปากต่อปาก การจะเกิดมาในโลกออนไลน์ค่อนข้างยาก ยกเว้นว่าจับกลุ่มได้ถูกต้อง นักทำเว็บไซต์รุ่นใหม่จึงหันมาสร้างความโดดเด่นทางด้าน SEO การทำเว็บให้ดี สำคัญกว่าการปรับแต่ง SEO ซึ่งอาจใช้เงินจำนวนมาก อย่าละเลยพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ดี นั่นคือ เนื้อหา หน้าตาของเว็บ ความถูกต้อง ระบบบนำทางที่ดี การดีไซน์ที่ดีหรือมีเอกลักษณ์ และเนื้อหาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญคือการสร้าง SEO ไม่สามารถสร้าง Brand ได้ จะเห็นว่า Brand ดังๆ ไม่ได้เกิดมาจาก SEO หรือไม่ได้สนใจเรื่องของ SEO เลยด้วยซ้ำ แต่ผู้คนจะกล่าวถึงความประทับใจในจุดอื่นๆ และรายละเอียดอื่นๆ  ของเว็บไซต์

4. การปรับแต่ง SEO ต้องทำอยู่ตลอดเวลาห้ามหยุด อันนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดเช่นกัน นักทำ SEO ที่ดีจะรู้จุดและเวลา จะต้องประมาณตน และคิดเสมอว่า การใส่ปุ๋ยที่มากไป ก็จะมีโทษได้เหมือนกัน การเพิ่มแบคลิงค์อย่างรวดเร็ว การทำ Onpage อย่างขมักเขม้นทุกจุด การปรับแต่งทุกวันสำหรับ Keyword Density หรืออื่นๆ เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิงถ้าไม่รู้จักการประมาณเวลา หรือ Timing ว่า Search Engine มี Time Cycle ในการ เข้าถึงเว็บเราถี่เพียงใด มีการปรับปรุงดาต้าเบสและผลการค้นหาถี่บ่อยแค่ไหน มันจะยิ่งยุ่งยากถ้าเราคำนวนถึงจุดที่ว่า Search Engine มาเก็บหน้าแบคลิงค์ที่มีเว็บเราด้วยในอัตราเท่าไร ดังนั้น การทำ SEO ที่ดี เหมือนการขับขี่รถที่ต้องมีการกดคนเร่ง ปล่อยคันเร่ง แตะเบรค ชลอ เพื่อดูว่า สิ่งที่เราปรับจูนนั้นๆ มันถึงจุดที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือยัง หรือว่าทำมากเกินไป

5. ปรับแต่งเต็มที่แล้วมักจะได้ผลเสมอ อันนี้เป็นสิ่งที่นักทำ SEO ทราบกันดีว่า การปรับแต่งแม้แต่เหมือนกัน 100% ก็ไม่เสมอไปที่จะทำให้อันดับใกล้เคียงกัน 100% อันนี้เป็นสิ่งที่เรียกกันเล่นๆว่า แล้วแต่คนกด หมายถึงว่า ในบางขณะ Search Engine ก็มีการเข้ามา Manipulate โดยคน (อันนี้อาจไม่ใช่จากคนกดปุ่ม แต่อาจหมายถึงปุ่มบุคมาร์คหรือปุ่มโหวตบนโปรแกรมฝังตัวที่ Google เก็บข้อมูลจาก Users ทุกคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์) สิ่งนี้สะท้อนกลับมาถึงข้อจำกัดหลายๆอย่าง อย่างแรกคือการทำ SEO บางทีไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อย่างที่สองคือ สูตรที่มีผู้คิดนั้น เปลี่ยนไปมาตลอดเวลา

เครดิต seo.thaihealth

Googlebot คืออะไร ?


Googlebot หรือ Googlespider นั้นมีหน้าที่หลักๆ ก็คือการเข้าไป Crawling และทำสำเนาข้อมูลหน้าเพจ ของเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ เพื่อใช้ในการทำดัชนี (Index) โดยจะไต่ไปตามลิงค์ต่างๆ ที่มีอยู่ในหน้าเพจหรือเว็บไซต์ การทำงานของ Googlebot นั้นจะทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากหน้าเพจเข้าสู่ฐาน ข้อมูลของ Google Server เพื่อใช้ในการประมวลผลและจัดอันดับตามความเหมาะสมที่ระบบของ Google สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ นอกจากนี้การไต่ไปตามหน้า เพจต่างๆ นั้นก็จะมีการเข้ามาตรวจสอบข้อมูลใหม่ๆ อีกเรื่อยๆ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในหน้าเพจเก่าที่เคยบันทึกไป แล้วด้วยเช่นกัน นั่นก็แสดงว่าถ้าเราอัพเดทข้อมูลเว็บเราบ่อยๆบอทมันจะเข้ามาเว็บเราบ่อยตาม ไปด้วย

Google Bot หรือ Google Spider นั้นมีด้วยกัน 2 ชนิดหลักๆดังนี้ครับ

Deepbot = ทำงานเพียงเดือนละครั้งเท่านั้น

Freshbot = ทำงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

เพื่อเราจะได้เข้าใจกลไกการทำของเขาได้มากยิ่งขึ้นเราลองมาดูคำอธิบายน้อยๆกันข้างล่างครับ

Deepbot

Deepbot เป็น Spider ตัวหนึ่งของ Google ที่มีนิสัยชอบไปไหนมาไหนไกลๆ เป็นนักค้นหาครับเจ้านี้และขยันมากๆ ครับจะค้นทุกอย่างที่ใครต่อใครไม่เคยรู้เจ้า Spider ตัวนี้จะรู้หมดครับ และหาเจอทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ (อันนี้แหละที่แม้แต่ในระบบที่ล็อกอินก็ยังเข้าไปบันทึกได้) เพราะเดินทางไปเรื่อยๆ และก็จะค้นๆๆๆ แม้แต่เว็บที่ไม่เคยมีการโปรโมทเลยเขาก็หาพบ เจ๋งมากๆ ตัวนี้แต่ด้วยเหตุที่เจาะทะลุทะลวงและเดินทางไกลๆ นี่เองทำให้ Deepbot สามารถทำงานได้ เพียงเดือนละครั้งเท่านั้นครับ โอ้พระเจ้าช่วยตัวนี้เขาแรงจริงๆ

Freshbot

Freshbot จะทำหน้าที่ในการไล่ตรวจข้อมูลเก่าๆ และข้อมูลใหม่ๆ ที่มีการนำเสนอบ่อยๆ เช่นบล็อกต่างๆ รวมไปถึงไปตรวจเว็บที่ Deepbot เคยไปเก็บบันทึกมาอย่างมากมายด้วย ทั้งนี้ Freshbot จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและขยันมากๆ ครับในแต่ละวันนั้น Freshbot จะเข้าไปตรวจหน้าเพจต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่หลายๆ ครั้ง ยิ่งเว็บไหนหรือบล็อกไหนอัพเดทบ่อยๆ ยิ่งไปบ่อยครับนั่นเลยทำให้ได้รับข้อมูลอะไรต่างๆ ที่ใหม่และสดอยู่เสมอนั่นเอง

เครดิต thaievo

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการโปรโมทเว็บ และ Blog ให้ติดอันดับด้วย SEO ขั้นพื้นฐาน ตอน 2


เทคนิคการโปรโมทเว็บ หรือ Blog ให้ติดอันดับใน Search Engine ก่อนที่เราจะทำการโปรโมทเว็บ หรือ โปรโมทเว็บ Blog ของเรานั้นเราต้องทำการสำรวจ ข้อมูลและเว็บ หรือ Blog ของเราเสียก่อนครับโดยให้คุณดำเนินการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ครับ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจคุณสามารถ ศึกษาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เรื่อง “SEO คืออะไร” และ “Blog กับ SEO” กันเสียก่อนหนะครับจะได้เข้าใจตรงกันครับ

ขั้นตอนการโปรโมทเว็บไซต์ โปรโมท Blog

1.Study ทำการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ คีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เว็บหรือบล็อกของเรา รวมไปถึงคีย์เวิร์ดที่ไกล้เคียงกันให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับอะไร คำค้นหาหลักอะไร หรือ สินค้าอะไร ได้ยิ่งดีเอาแบบตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพราะถ้าหากว่าทำแบบกว้าง ๆ อาจไม่ได้ผลในทางที่เป็นการค้าหรือธุรกิจควรให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ครับ

2.Website Optimization ทำการปรับปรุงเนื้อหา และ การปรับแต่งเว็บเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการ SEO ตามแบบฉบับที่เหมาะสม หลักการก็คือพยายามใช้ HTML แบบโบราณให้ได้มากที่สุด เพราะนั่นจะทำให้ Search Engine ชอบมาก ๆ ครับ ถ้าหากไม่ทราบแนวทางในการปรับแต่งสามารถศึกษาข้อมูลการปรับแต่งแบบโบราณได้ จาก W3C ครับ

3. Website Submission คือการส่งบัติเชิญเหล่า Search Engine ต่าง ๆ ให้มาเก็บข้อมูลที่เราได้ทำการปรับปรุงใหม่นั้น ๆ เพื่อให้ได้รับการ Index ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปและเป็นการปรับปรุงฐานข้อมูลให้กับ Search Engine ด้วยครับ

4.Evaluation ทำการติดตามผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูความเคลื่อนไหวในการติดอันดับในระดับต่าง ๆ และ คีเวิร์ดต่าง ๆ ด้วยครับ

5.Fine Tuning ปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์ หรือ บล็อกของเราตลอดเวลาครับ หรือ ทุกวันได้จะดีมากครับเพราะจะทำให้ Robot ของ Search Engine เข้ามาทำการเก็บข้อมูลบล็อก หรือเว็บของเราเป็นประจำ ข้อสำคัญต้องสอดคล้องกับ Keyword ของเราด้วยหนะครับ

เพียงเราทำตาม ขั้นตอนต่าง ๆ แบบง่าย ๆ อย่างนี้ไม่เกิน 6 เดือน Blog หรือ Website ของเราก็จะเริ่มติดอันดับไปทีละ Keyword เรื่อย ๆ และ น่าจะได้อันดับที่ดีพอสมควรครับ ในการโปรโมทเว็บ หรือ Blog ด้วยหลักการทาง SEO นั้นต้องอาศัยระยะเวลา เนื่องจากเราต้องรอให้ Search Engine ต่าง ๆ ได้ทำการปรับปรุงเว็บเราไปให้ได้มากที่สุดเสียก่อน หรือ ให้ตรงกับคีย์เวิร์ดของเราให้มากที่สุดก่อน แต่ก็คุ้มค่าในระยะยาวครับ เพราะถ้าเราติดอันดับแล้วเราก็จะทำการปรับปรุงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ จนนิ่งและได้รับความน่าเชื่อถือในเรื่องข้อมูลมากขึ้น.

เครดิต Makemany

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการโปรโมทเว็บ และ Blog ให้ติดอันดับด้วย SEO ขั้นพื้นฐาน ตอน 1


การโปรโมทเว็บ Blog หรือ Web ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่จะเอาดีในด้านการให้ข้อมูลอย่างมืออาชีพ ด้วยเหตุที่ว่าเราจะสร้างเว็บ หรือ Blog มาทำไมในเมื่อไม่อยากให้ใครเห็น หรือ ใครพบเว็บ หรือ บล็อกของเราในการเขียนบล็อก หรือ เว็บไซต์นั้น สำหรับธุรกิจโดยทั่วไปย่อมหวังที่จะให้ได้รับผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีมา Internet ก็คืออีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดช่องทางในการนำเสนอสินค้าและบริการ สำหรับผู้ประกอบการทั่วไป แต่ด้วยเหตุที่ในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ เหล่านั้นต่างก็มีผู้ประกอบการต่าง ๆ มากมายนำเสนอเช่นเดียวกันเป็นจำนวนมากหลายหมื่นหลายล้านเว็บไซต์ทั่วประเทศ เครื่องมือค้นหาอย่าง Search Engine? ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น จึงมีการนำเสนอโฆษณารูปแบบ PPC แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุก ๆ เดือนไปตลอดที่มีการโฆษณา เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีการโฆษณาเว็บของเรา หรือ Blog ของเราก็จะหายไปในบัดดล เว้นแต่ว่าคุณได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาการทางด้าน SEO มาก่อนที่จะหยุดทำการโฆษณานั้น ๆ จนติดหน้าแรกไปแล้ว

การโปรโมทเว็บเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องมีการวางแผนที่ ดี แต่ก็อาจเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งอาจมองว่าไม่คุ้มกับการ โปรโมทเว็บ หรือ โปรโมทบล็อก ด้วยซ้ำไปวันนี้ จะนำเสนอเรื่องราวทางด้านเทคนิคในขั้นพื้นฐานสำหรับการโปรโมทเว็บ หรือ โปรโมท Blog กันครับที่ประหยัดเวลาและไม่ต้องเสียเงินในการโปรโมทด้วยครับ

เครดิต Makemany

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อดีข้อเสียของ SEO

SEO คือปลายทางของ Marketing แล้วทำไม SEO จึงเป็นปลายทางของ Marketing? นั้นก็เพราะว่าก่อนที่คุณจะตัดสินใจลงทุนทำ SEO นั้นคุณต้องวิเคราะห์มาก่อนแล้วว่า การทำ SEO จะเป็นช่องทางที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ การทำ SEO นั้นไม่ได้มีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียวแน่นอน ก่อนการตัดสินใจเลือกให้ SEO เป็นช่องทางให้การทำการตลาด ควรศึกษาข้อดีข้อเสีย รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจและเว็บไซต์ของคุณก่อนดีกว่า



ข้อดีของ SEO

ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ยี่ห้อ / ตราสินค้า ของคุณปรากฏต่อผู้ใช้ที่ค้นหาเจอ ทำให้เกิดการแข่งขันสูง ทำให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัวตาม ปรับแผน ปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อสู้กับคู่แข่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน
สามารถวางกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ได้ตรงตามที่ต้องการ ช่วยขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น

ข้อเสียของ SEO

ความไม่แน่นอนของอันดับ ด้วย Algorithm ที่มีการปรับปรุงตลอด จึงทำให้อันดับของเว็บไซต์นั้นมีการขยับอยู่เนื่องๆ ขึ้นบ้างลงบ้าง เป็นความไม่แน่นอนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในเว็บไซต์ได้ ใช้เวลาในการทำอันดับนาน การปรับอันดับไม่สามารถทำได้แบบทันที ต้องใช้เวลานานมากกว่า 7-30 วันจึงจะมีการปรับปรุงอันดับเกิดขึ้น (ตามความหนาแน่นของคู่แข่งด้วย) ในเว็บไซต์หนึ่งหน้านั้น จำกัด Keywords ที่เลือกทำ SEO ด้วย เนื่องจากการทำ SEO ต้องมีการปรับเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ตาม Keywords ด้วย การเลือก Keywords ที่จะทำ SEO จึงต้องเลือก Keywords ที่คิดว่าน่าจะคุ้มค่าต่อคุณมากที่สุด

เครดิต sutenm

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คู่มือ SEO เบื้องต้นจาก Google ฉบับภาษาไทย



คู่มือนี้อ่านใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นทำ SEO ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ และต่อยอดในการทำ Search Engine Optimization เป็นไฟล์เอกสาร PDF เป็นภาษาไทย

คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นใช้โปรแกรมเพิ่ม ประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาของ Google

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของ Search Engine ?



ประเภทของ Search Engine ก็มีอยู่หลาย ๆ ประเภท ดังนี้

1. แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine)
หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กะ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN

2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)
Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น

ส่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือ Keyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่

แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้

หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็นผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล

3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine)
Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag (อยากรู้ดูในบทความหน้า) ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots

Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่นยำ

เครดิต thainextstep

การแบ่งประเภท SEO ?


การทำ SEO ถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

White Hat SEO (SEO หมวกสีขาว)

การทำ SEO ประเภท White Hat คือ การทำเว็บคุณภาพ และทำ SEO โดยยึดแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ Search Engine หลาย ๆ ค่ายแนะนำไว้ ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้

หลีกเลี่ยงการทำ Hidden text หรือ Hidden Links
หลีกเลี่ยงการทำ Doorway
ไม่ทำ Spam Keyword
ไม่ทำ Duplicate Content
ไม่ทำ Cloaking หรือ Sneaky Redirects

Black Hat SEO (SEO หมวกสีดำ)

การทำ SEO ประเภท Black Hat คือ การทำ SEO โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์ทาง SEO โดยไม่สนใจถึงความเหมาะสม ตามลักษณะที่ตรงข้ามกับการทำ White Hat SEO ทุกประการ (ไม่แนะนำให้ทำอย่างยิ่ง)

นอกจากหมวกขาวและหมวกดำแล้ว ในปัจจุบันยังมีการแบ่งประเภทแบบไม่เป็นทางการอีก 1 ประเภท คือ Gray Hat SEO (SEO หมวกสีเทา) ที่ทำ SEO แบบกึ่งหมวกขาวและหมวกดำ
ตัวอย่างเช่น การทำ Spam Keyword โดยการแต่งประโยคที่มี Keyword อยู่ในประโยคมาก ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำ Black Hat SEO จะได้ผลเร็ว แต่ก็มักจะได้ผลแค่ระยะสั้น ๆ จึงขอสนับสนุนให้นัก SEO ทุกท่านทำเว็บด้วย White Hat SEO เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาวครับ

ศัพท์น่ารู้

Hidden Text คือ การซ่อนข้อความ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การทำสีตัวอักษรกับสีพื้นหลังเป็นสีเดียวกัน

Hidden Links คือ การซ่อนลิงค์ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การใช้ style=”display:none” ครอบแท็กของ Hyperlinks

Spam Keyword คือ การทำหน้าเว็บที่มีแต่ Keyword มากมาย

Duplicate Content คือ การคัดลอกหน้าเว็บให้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มจำนวนหน้าของเว็บแบบไม่มีคุณภาพ

Doorway คือ การส่ง Robot ของ Search Engine ไปในหน้าที่มีแต่ Keyword ก่อนแสดงผลหน้าเว็บที่มีเนื้อหา

Cloaking คือ การทำหน้าเว็บที่แสดงผลแตกต่างกัน เมื่อถูกเรียกโดย Robot ของ Search Engine และผู้เข้าชมเว็บทั่ว ๆ ไป (แสดงผลให้คนอย่างหนึ่ง ให้บอทอย่างหนึ่ง)

Sneaky Redirects คือ การเปลี่ยนการแสดงผลจากหน้าหนึ่ง ไปอีกหน้าหนึ่งอย่างรวดเร็ว

เครดิต seo.siamsupport

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

SEM คืออะไร ? (Search Engine Marketing)

อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรวมข้อมูล และความรู้ขนาดใหญ่ที่สุด และกำลังได้รับความนิยมมากในการใช้งานปัจจุบัน และเนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลในอินเตอร์เน็ตนั้น ทำให้บางครั้งผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ จึงทำให้เกิดการพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ขึ้นมา โดยระบบสืบค้นข้อมูลนั้นเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อการค้นหา

แต่เมื่อเว็บไซต์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและข้อมูลต่างๆ มีความหลากหลายและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงต้องพัฒนาการค้นหาข้อมูลด้วยการกำหนดคำสำคัญ (Keyword) เพราะทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีและอีเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NECTEC) พบว่าลักษณะการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ทั่วไปนั้น เป็นการสืบค้นข้อมูลมากถึง 89.7% และจากการที่ผู้ใช้จำนวนมาก ทำการสืบค้นข้อมูลผ่านเสริช์เอนจิ้น เพื่อที่จะหาสินค้าหรือบริการที่ต้องการ ทำให้เกิดแข่งขันของเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก ที่ต้องการจะผลักดันเว็บไซต์ของตนเองให้เข้าไปติดอันดับต้นๆ ของ การค้นหา โดยการทำให้เว็บไซต์ของตนเองเข้าไปติดอันดับต้นๆ ของการค้นหาใน Search Engine นั้น เรียกกว่าเป็น การตลาดผ่าน เสริช์เอนจิ้น (Search Engine Marketing: SEM)

โดย SEM คือ การทำการตลาดโดยผ่านการค้นหาทาง เสริช์เอนจิ้น สามารถแบ่งการทำการตลาดในลักษณะนี้ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. การปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อทำอันดับในผลการค้นหา Search Engine Optimization หรือ SEO

2. การลงโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิ้ก Pay per Click Advertising หรือ PPC


เครดิต RedRank

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้อง Search Engine Optimization (SEO)

Search Engine เป็นสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบนอินเตอร์เน็ตได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับสื่อ โฆษณาแบบ Online อย่างป้ายโฆษณา (Banner) และสื่อ Offline อย่างโทรทัศน์และป้ายโฆษณาทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบในแง่การแสดงผล และจำนวนของผู้ที่จะได้เห็นป้ายโฆษณาเหล่านั้น Search Engine กลับมีค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว ดังนี้แล้วหากต้องการที่จะเพิ่มช่องทางการตลาด เพิ่มยอดขาย เพิ่มอัตราผู้เข้าชมเว็บไซต์ ควรจะต้องทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นติดอันดับอยู่ใน 10 อันดับแรก ของผลการค้นหา ในทุกครั้งที่มีการค้นหาจากคำค้นหา (keyword) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเว็บไซต์เรา

ดังนั้นการทำ Search Engine Optimizgation (SEO) ถือ ว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก สำหรับเว็บไซต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเหล่านี้จะสามารถเข้าถึง และรู้จักเว็บไซต์ของเราได้ง่ายมากขึ้น และยังแน่ใจได้ว่า เว็บไซต์ของเราคุ้มค่ากับทุกๆ การลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ SEO เพราะสามารถติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน และเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดีมากในอนาคต

จุดเด่นในการทำ Search Engine Optimization (SEO)

ประสิทธิภาพสูง : ทำให้มีผู้เข้าเว็บไซต์ของท่านมากขึ้น เพราะผู้ใช้ Search Engine ประมาณ 95% จะนิยมคลิกเฉพาะเว็บไซต์ที่ปรากฏใน 2 หน้าแรกเท่านั้น

เพิ่มความน่าเชื่อถือ : เนื่องจากผลลัพธ์ของการค้นหา จะปรากฎในตำแหน่งทางซ้ายมือ หรือเป็นตำแหน่งของผลการค้นหาธรรมชาติ ที่จะได้เปรียบมากกว่า ตำแหน่งผู้สนับสนุนทางด้านขวามือ ซึ่งเพิ่มความเชื่อถือให้กับลูกค้า ว่าเว็บไซต์ของท่านได้รับความนิยมอย่างสูง ในเว็บ Search Engine นั้น

ตรงกลุ่มเป้าหมาย : การทำ SEO นั้น จะส่งผลให้เว็บไซต์ของท่าน ได้รับการโฆษณาตรงตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างแท้จริง เพราะการเลือกคำค้นหา (Search Keyword) จะทำให้เว็บไซต์ของท่าน จะปรากฎเมื่อมีผู้สนใจในสินค้า และบริการประเภทนั้น ซึ่งมีความต้องการที่จะซื้อ หรือใช้บริการ ณ เวลานั้นด้วย

ประหยัด และคุ้มค่า : เมื่อเทียบกับการโฆษณา ประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี , วิทยุ , หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร และการโฆษณาแบนเนอร์ในเว็บไซต์ นั้น วิธี SEO ถือว่าประหยัด และคุ้มค่าที่สุด เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ในแง่ของธุรกิจ

เว็บไซต์ของท่าน จะปรากฎอยู่ตำแหน่งใดในเว็บไซต์ Search Engine ? การทำ SEO นั้น จะเน้นให้ผลของคำค้นหา (Search Keyword) ปรากฏอยู่ในส่วนของ “ผลการค้นหาธรรมชาติ” (Natural Search Result หรือ Organic Search Result) ซึ่งจะแสดงอยู่ในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บ Search Engine นั่นเอง ดังรูป


เครดิต business-online

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของการทำ SEO (Search Engine Optimization)

ทุกวินาทีที่คุณกำลังอ่านบทความอยู่ ยังมีผู้คนหลายร้อยล้านคนกำลังนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์และหลายล้านคนกำลัง ค้นหาข้อมูลผ่าน เสิร์ชเอนจิน Search Engine มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าคุณทำเว็บไซต์แล้วไม่มีผู้เข้าชม หรือไม่มีคนค้นพบเว็บไซต์ของคุณใน เสิร์ชเอนจิน Search Engine ได้เลย

1.การสร้างลูกค้าด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัด

ในการทำ SEO ท่านเสียเงินค่าทำ SEO เพียงครั้งเดียว ถ้าหากเว็บไซต์ของเราทำ SEO อย่างถูกต้องแล้วก็ยิ่งจะทำให้เราได้รับผู้ เยี่ยมชมที่สามารถกลายเป็นลูกค้า ของเราได้อย่างง่ายดายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนอื่นอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากต่อเดือนเพื่อลงโฆษณาบน Sponsored Links ไม่ว่าจะเป็น Google, Yahoo หรือ MSN หรือซื้อป้ายโฆษณาตามเว็บไซต์ดังๆ

2.ค่าใช้จ่ายที่คงที่

ค่าใช้จ่ายในการทำ Search Engine Optimization จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างคงที่ ซึ่งในบางครั้งการทำ SEO ใน ช่วงแรกนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่พอผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนของการบำรุงรักษาอันดับ ค่าบริการสามารถลดลงได้ แต่ในทางกลับกัน การลงโฆษณาแบบ Paid-Search จะค่อนข้างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

3.ช่วยสร้าง Brand Image

ถ้าหากตราสินค้าหรือองค์กรของคุณมีเว็บไซต์ของตัวเอง เมื่อลูกค้าพยายามค้นหาเว็บไซต์ของคุณกับพบเจอแต่เว็บไซต์ของคู่แข่ง คุณว่ามันจะเสียหายต่อธุรกิจของคุณแค่ไหน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นจากประสบการณ์การทำเว็บไซต์ของผมพบว่าบางครั้งเราจะค้นหา เว็บไซต์หนึ่ง กลับพบเจอแต่เว็บไซต์อื่นที่พูดถึงเว็บไซต์ที่ผมพยายามจะค้นหาอยู่นั้นในแง่ เสียหาย อาจเกิดมาจากลูกค้าของคุณเองที่เข้าใจผิดหรือการจงใจสร้างข่าวของคู่แข่ง เป็นต้น และนอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้นของ เสิร์ชเอนจิน Brand ของของคุณ ก็จะปรากฏต่อสายตาผู้ค้นหาเป็นจำนวนมาก ย่อมทำให้ Brand ของคุณเป็นที่รู้จักแพร่หลายอีกด้วย

4.ช่วยสร้างมาตรฐานในเว็บไซต์

ในการทำ SEO ผู้ทำจำเป็นที่จะต้องเข้าไปปรับรูปแบบของเว็บไซต์ ที่จำเป็นต่อการทำ SEO และ ประโยชน์ที่จะตามมานั้นก็คือจะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นมาตรฐานมากขึ้น และเป็นประโยชน์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์

5.ช่วยสร้างลูกค้าใหม่

การค้นหานั้นเกิดจากความต้องการของผู้เยี่ยมชม เพราะฉะนั้นแล้วผู้เยี่ยมชมที่มาจาก Search Engine โดยส่วนมากจะมีความสนใจในสินค้าหรือบริการ และถ้าหากเว็บไซต์ของเราแสดงเนื้อหา ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ การที่พวกเขาเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าประจำคนใหม่ของคุณนั้นก็มีโอกาส เป็นได้สูงเช่นกัน

6.SEO ทำหน้าที่โดยไม่เคยหลับ

Search Engine นั้น เปรียบเทียบได้กับบริษัทโฆษณาส่วนตัวของคุณและทำงานให้คุณตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่ออาทิตย์ 365 วันต่อปี ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีการทำ SEO ติดอันดับต้นๆ Search Engine ก็เปรียบได้กับบริษัทโฆษณาที่ไม่เคยหลับ

เครดิต idoseo.org

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Google คืออะไร ?

Google คือ ผู้ให้บริการ Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้นิยมใช้งานมากกว่า 80% จากผู้เล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหมด Google นอกจากจะให้บริการ Search Engine แล้ว ยังมีบริการอื่นๆที่มีประโยชน์อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Gmail หรือ Google Mail เป็นบริการอีเมลล์ฟรีและมีขนาดพื้นที่เก็บเมลล์ใหญ่จุใจ ที่สำคัญ Google ให้ใช้ฟรีซะด้วยสิ Google Adsense เป็นแหล่งทำเงินบนอินเตอร์เน็ตชั้นดี ไม่ใช่ระบบลูกโซ่แบบที่เห็นๆกันในมากมายในบ้านเรา และที่ดีที่สุดคือไม่เบี้ยวเงินเราแน่นอน เมื่อเราทำยอดได้ตามเป้าหมาย กูเกิ้ลก็จะส่งเช็คมาถึงตู้จดหมายบ้านเรา ศึกษาเกี่ยวกับ การหารายได้จาก Google Google Adwords ใช้สำหรับลงโฆษณากับกูเกิ้ล เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ในระยะสั้น และค่อนข้างได้ผลดี (โดยเฉพาะเว็บภาษาอังกฤษล้วน) Google Adwords เองยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย Blogger เป็น blog สารพัดประโยชน์ที่ผลิตโดยกูเกิ้ล จึงรองรับ Application ต่างๆในเครือกูเกิ้ลด้วย เช่น Google Adsense, Picasa Photo Album เป็นต้น ทำให้เราสามารถสร้าง Blog ดีๆแถมยังทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วย Google Webmaster Tools ชื่อก็บอกนะว่าเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ซึ่งก็จะช่วยเว็บมาสตอร์จัดการส่งเว็บไซต์ของตนเข้าสู่การ Index ในกูเกิ้ล และมีบริการเก็บสถิติการ Crawl จาก Google Bot ด้วย Google Analytics เป็นบริการวิเคราะห์สถิติของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถบอกแหล่งที่มาของผู้เข้าชม และ พื้นที่ของประเทศที่ผู้เข้าชมอาศัยอยู่ด้วย

เว็บไซต์ Google (www.Google.com) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ Google แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาออกเป็น 4 หมวดหมู่ด้วยกัน ดังนี้คือ
  • เว็บ (Web) เป็นการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการแสดงผลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น
  • รูปภาพ (Images) เป็นการค้นหารูปภาพจากการแปลคำ Keyword
  • กลุ่มข่าว (News) เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าว ซึ่งมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าว หัวข้อข่าว วันที่และเวลาที่โพสต์ข่าว
  • สารบบเว็บ (Web Directory) Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้องการตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลย
วิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูลแบบติดจรวด

การค้นหาโดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้คำ Keyword เป็นเครื่องมือในการนำทางการค้นหาอย่างเดียว แต่ถ้าเรารู้จักใช้เครื่องหมายบางตัวร่วมด้วย ก็จะทำให้ขอบเขตการค้นหาของ Google แคบลง ทำให้เราได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น เครื่องหมายที่สามารถนำมาช่วยในการค้นหาได้ มีดังนี้

การค้นหาด้วยเครื่องหมายบวก (+) เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นตัวเชื่อม เพราะโดยหลักการทำงานของ Google แล้ว Google จะไม่ค้นหาคำประเภทตัวเชื่อม เช่น at, with, on, what, when, where, how, the, to, of ถึงแม้ว่าเราจะมีการระบุเหล่านี้ลงใน Keyword ด้วยก็ตาม

ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ Google ทำการค้นหาคำเหล่านี้ด้วย เนื่องจากเป็นคำสำคัญของประโยคที่เราต้องการ สามารถใช้เครื่องหมาย + ช่วยได้ โดยมีเงื่อนไข ว่า ก่อนหน้าเครื่องหมาย + ต้องมีการเว้นวรรค 1 เคาะด้วย เช่น ถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมส์ที่มีชื่อว่า Age of Empire ถ้าเราพิมพ์ Keyword ...Age of Empire… Google จะทำการค้นหาแยกคำโดยไม่สนใจ of คืออาจจะค้นหา Age หรือ Empire แค่ตัวเดียว แต่ถ้าเราระบุว่า Age +of Empire Google จะทำการค้นหาทั้งคำว่า Age, of และ Empire เป็นต้น

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (+)
การค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) จะช่วยให้เราสามารถตัดเรื่องที่เราไม่ต้องการ หรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่ต้องการ การล่องแก่งที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดตาก ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง -ตาก (เช่นเดียวกับเครื่องหมาย + ต้องเว้นวรรคก่อนหน้าเครื่องหมายด้วย) Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่มีจังหวัดตากเข้ามาเกี่ยวข้อง

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (-)
การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...") เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นประโยควลี ที่เราต้องการให้มันแสดงผลทุกคำในประโยค โดยไม่แยกคำ เช่น ถ้าเราต้องการหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลงที่มีชื่อว่า If I Let You Go ให้พิมพ์ว่า "If I Let You Go" Google จะทำการค้นหาประโยค "If I Let You Go" ทั้งประโยคโดยไม่แยกคำค้นหา

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข ("...")
การค้นหาด้วยคำว่า OR เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง ทั้งในจังหวัดตาก และปราจีนบุรี ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง ตาก OR ปราจีนบุรี Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่งทั้งในจังหวัดตาก และกาญจนบุรี

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (OR)

เครดิต maw_ne | dld.go.th

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักการทำงาน Search Engine


หลักการทำงาน Search Engine ปัจจัยการทำงานหลักอยู่ 3 ประการ

1. Search Engine ทั้งหลายค้นหาข้อมูลใน Internet และเลือกสรรเว็บเพจต่าง ๆ ออกมาตามคำสั่ง ของผู้ใช้งาน Keyword

2. Search Engine วิ่งเข้าไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอามาเก็บไว้ในฐานข้อมูล Indexing เพื่อรอการเรียก ค้นหา (Indexing ก็จะคล้ายๆ กับ ดัชนีท้ายเล่มหนังสือนั่นเอง)

3. Search Engine อนุญาติให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการเปรียบเทียบการสอดคล้องระหว่างคำ หรือข้อมูลที่เป็นประโยคสั้น ๆ ที่ใช้ค้นหาใน Index ของ "Search Engine" ดังนั้นก่อนที่ Search Engine จะบอกคุณว่า ข้อมูลที่คุณหาอยู่ในเว็บเพจใดในโลก Internet มันจะต้องมีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว เพราะฉนั้น Search engine จึงมีซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่เรียกว่า Spider หรือ Robot ที่จะคอยวิ่ง (Crawling) ไปตามเว็บเพจต่างๆ โดยการใช้ลิงก์มากมายเป็นถนม ให้มันวิ่งผ่านแล้วเอาข้อมูลหรือเนื้อหาของเว็บเพจเหล่านั้นมาเก็บใส่ Index ของมันเอาไว้เพื่อเตรียมการรอว่าเมื่อไหร่จะมีใครมาค้นเจอนอกจากการใช้ลิงก์ในการเก็บข้อมูล ยังมีอีกสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นโดยสามารถ เรียกเจ้า Spider ให้เข้ามาเก็บข้อมูลได้อีกคือ ความนิยมของเพจนั้น ๆ เพราะเจ้า Spider มันจะวิ่งเข้าหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บไฟล์เว็บเพจนั้น (Server) ที่มีอัตราการใช้อย่างหนักหน่วงในแต่ละวินาที พูดง่ายก็คือเว็บเพจใดที่มีคน
เข้าไปดูมาก ๆ เป็นที่นิยม และมีการอัปเดตเนื้อหาอยู่บ่อย ๆ เจ้า Spider มันจะเข้ามาเองนั้นแหละ

ทั้งหมดที่ว่ามา ก็คือพื้นฐานหลักการทำงานของ "Search Engine" ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ หรือไม่เคยสนใจ แต่หลายคนอาจจะมาาขอบคุณผมที่หลังก็ได้ ถ้าคุณตั้งใจจะทำ "SEO" จริง

เครดิต seo-service

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Keyword คืออะไร สำคัญอย่างไร ?



Keyword (คีย์เวิร์ด) ความหมาย Keyword ในภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต คือ คำหรือข้อความ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์ลงไปเพื่อใช้ในการ ค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสาร เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว ในการสืบค้น เอกสารในข้อมูลระบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเว็บเพจ ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น หรือการสืบค้นเอกสารต่างๆ ในระบบของห้องสมุด เป็นต้น ดังนั้น Keyword คีย์เวิร์ด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Keyword นี้จะเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำตัว ของหน้าเว็บเพจหรือเรื่องนั้น ๆ

เทคนิคของการสร้าง Keyword

การที่เราจะเพิ่มบทความขึ้นมา แต่ละบทความนั้น สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึง ในแง่ SEO หรือ SEM ก็คือ Keyword

1. สร้างบทความขึ้นมาเพื่ออะไร
2. บทความนี้ Keyword อะไร
3. กลุ่มเป้าหมายคือใคร (ทั่วไปหรือคนที่หลงเข้ามา นั่นก็คือคุณนั้นเอง )
4. อื่นๆ (หลายๆส่วนประกอบกัน)

สร้าง บทความขึ้นมา 1 บทความ ต้องติด Google หรือ Search Engine ให้มากที่สุดของ Keyword นั้น ๆ เช่น บทความที่ผมสร้างขึ้นมานี้นั้น คำว่า Keyword ดังนั้น ค่า Keyword Density ของหน้านี้ต้องมี 5-15% นะครับทำให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ สำหรับคำว่า Keyword แต่ว่า ต้องสื่อให้เข้าใจด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าจะอัดคำ Keyword เข้าไป จนอ่านแล้วจับใจความไม่ได้

ประเภทของ Keyword

Keyword นั้นแบ่งออกได้หลายประเภทซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเค้าจำกัดไว้กี่ประเภทที่ถูกหลัก แต่จะเอาประเภทของ Keyword ที่ได้ยินบ่อยๆมาเล่าให้ฟังแล้วกันครับ

Niche Keyword คือ keyword ที่มีการเจาะจงจำเพาะ ในตัวสินค้าหรือเอกสารนั้น ๆ keyword จะเป็นกลุ่มคำยาว เช่น Nintendo DS Lite เป็นต้น

Widely Keyword คือ keyword ที่มีความหมายกว้างๆและมักมีปริมาณการค้นหามากมีคู่แข่งมาก เช่น ipod, Nintendo, Blog เป็นต้น

Mass Keyword  คือ keyword จำนวนมาก ที่เกี่ยวข้องในตลาดเดียวกัน หรือสินค้าตัวเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกัน ในลักษณะชื่อที่คล้าย ๆกัน เช่น Nintendo DS, NintendoWii, Nintendo DSroms, NintendoWii game ประมาณนี้

Misspelling Keyword คือ Keyword ที่มีการสะกดคำผิด หรือเขียนผิด ประมาณว่าให้ชื่อมันคล้าย ๆ กับชื่อที่ถูกต้อง อาจจะเติม s หรือเติมตัวอักษรเพิ่มเติมเข้ามา เช่น Nintendos, Ipods, NNintendo, IIpod เป็นต้น

เครดิต kaweeclub.com

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) คือ ?

เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) หรือ โปรแกรมค้นหา และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย

เสิร์ชเอนจิน ส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจิน บางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

 สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา

   1. กูเกิล (Google) 49.2%
   2. ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
   3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
   4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
   5. อาส์ก (Ask) 2.6%
   6. อื่นๆ 8.5%

เครดิต วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

SEO คืออะไร ?


เอสอีโอ (SEO Search Engine Optimization) หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหา เป็นการจัดทำ ปรับปรุง หรือปรับแต่งหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาของ เสิร์ชเอนจิน ในลักษณะธรรมชาติ (เรียกศัพท์เฉพาะว่า "ออร์แกนิก") ซึ่งผ่านทางเป้าหมายของคำค้นหาที่ต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การทำการตลาดผ่านระบบค้นหา หรือ Search Engine Marketing (SEM)

เอสอีโอ เป็นการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดใน เสิร์จเอนจิน คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ด้วย เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ของเว็บ เสิร์ชเอนจิน ด้วยคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด โดยเน้นให้ผลของคำค้นปรากฏอยู่ในส่วนของ Natural Search Result (Organic Search Result) หรือในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บ เสิร์ชเอนจิน เวลาที่คนเข้ามาค้นหาในเว็บ เสิร์ชเอนจิน เช่นที่ กูเกิล ยาฮู หรือ บิง ด้วยคำสำคัญที่ต้องการค้นหาแล้ว จะปรากฏลิงก์ของเว็บไซต์ของ เราเพื่อทำให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหา ซึ่งการทำ เอสอีโอ นั้นจะประกอบไปด้วย การปรับปรุง-เพิ่มคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ในหน้าเว็บไซต์ การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้มีขนาดเล็ก การใช้ Meta Tag การหาเว็บไซต์ที่สามารถเชื่อมโยงหรือลิงก์เข้ามาสู่เว็บไซต์ที่ต้องการจัดทำ เอสอีโอ และวิธีอื่น ๆ ควบคู่กันไป เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจเกี่ยวกับ เอสอีโอ นั้นก็เหมือนช่องทางหนึ่งในการทำการตลาด โดยการทำความเข้าใจว่าอัลกอริทึมของ เสิร์ชเอนจิน นั้นทำงานอย่างไร และ คำ ๆ ไหนที่ผู้เยี่ยมชมมีความต้องการที่จะค้นหา เพื่อช่วยเลือกเว็บเพจที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ทำการค้นหา

การสร้างเว็บเพจโดยการใช้เทคนิค เอสอีโอ นั้น ก็ไม่ได้หมายถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นที่ชื่นชอบต่อ เสิร์ชเอนจิน เพียงอย่าง เดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงผู้เยี่ยมชม ซึ่งวิธีการทำ เอสอีโอ นั้น อาจจะมีการเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโค๊ดของเว็บไซต์, การนำเสนอ, โครงสร้างของเว็บไซต์ และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำ เอสอีโอ ก็คือเนื้อหาที่มีประโยชน์ และจะต้องเป็นเนื้อหาต้นฉบับที่ไม่ได้ทำการคัดลอกหรือลอกเลียนมาจากเว็บไซต์ อื่นใด

เครดิต วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี