G+

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หรือจะถึงอวสาน Domain Free!!

จากที่ผ่านมาเพื่อนๆก็คงได้ทราบข่าวหรือโดนกับตัวเอง!! กับการแบน Domain Free ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของประเทศเกาหลี อย่าง co.cc โดย Google ให้เหตุผลว่า เว็บไซต์ส่วนใหญ่ของ co.cc เป็นเว็บขยะ หรือเป็นเว็บที่ไม่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นแหล่งรวม Cyber Criminal หรืออาชญากรออนไลน์ทั้งหลาย โดยใช้ช่องทางของโดเมนฟรีอย่าง co.cc เป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการแพร่ระบาด Malware ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะฝังตัวเป็นภัยคุกคามกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีอัตราการแพร่ระบาดที่เพิ่มสูง ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเหตุผลนี้ก็เพียงพอ

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์คู่แข่งด้วย Niche Market Finder

สวัสดีครับผม ช่วงนี้ฝนตกค่อนข้างบ่อยก็ระวังสุขภาพกันบ้างนะครับ มาว่ากันต่อเลยใน บทความ SEO วันนี้ผมจะมาแนะนำเครื่องมือวิเคราะห์คู่แข่งแบบง่ายๆด้วยโปรแกรม Niche Market Finder ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่ายและค่อนข้างดีอีกโปรแกรมหนึ่ง รวมทั้งยังสามารถ Download มาใช้งานได้ฟรีๆอีกด้วยครับ ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของตัวโปรแกรมก็คือเอาไว้วิเคราะห์คู่แข่งใน Keyword ที่เราจะทำ SEO หรือ Search Engine Optimization ครับ ซึ่งผลการวิเคราะห์จะอ้างอิง Google.com ซึ่งจะวิเคราะห์ได้ค่อนข้างแม่นยำใน Keyword และ Traffic ภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ภาษาไทยผลการวิเคราะห์จะยังไม่แม่นยำเท่าที่ควร แต่ก็ยังพอนำมาอ้างอิงได้ครับ เรามาศึกษาและดูวิธีการใช้งานกันเลย เริ่มต้นให้ทำการกรอก Keyword ที่เราะจะทำการวิเคราะห์ในช่อง Keyword แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Find Pages ตรง Tool Bar ด้านบนครับ ตัวโปรแกรมก็จะทำการประมวลผล และแสดงผลการวิเคราะห์ตามรูป

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตรวจสอบและ เช็ค PR ด้วย PaRaMeter

สวัสดีครับ ช่วงเมื่อไม่นานที่ผ่านมาทาง Google ได้มีการปรับ PR ให้กับเว็บไซต์ต่างๆครั้งใหญ่ ตัวผมก็เลยมองหา SEO Tool ดีๆซักตัวที่มีความสามารถ ตรวจสอบ และ เช็ค PR เว็บไซต์ครั้งละมากๆได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ และเน้นที่ตัวโปรแกรมให้มีขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก แล้วก็ทำงานได้สะดวกดี และที่สำคัญใช้งานได้ง่ายๆและฟรีครับ ผมขอแนะนำ PaRaMeter จากค่าย CleverStat เครื่องมือ เช็ค PR เว็บ ที่มีความสามารถตรวจสอบ PR ได้อย่างรวดเร็ว วิธีใช้งานก็ค่อนข้างง่ายๆมากๆครับ เพียงกรอก URL ของเว็บไซต์ที่เราต้องการในช่อง URL แล้วคลิ๊กที่ปุ่มเครื่องหมายบวก หรือ Add Button นั้นเอง ถ้าต้องการเช็ค PR เว็บหลายๆเว็บไซต์ หรือ Page ต่างๆ ก็เพียงกรอก URL ของเว็บไซต์ หรือ Page ที่เราต้องการตรวจ สอบ และคลิ๊กปุ่ม Add เพิ่มลงไปใน List ให้ครบตามความต้องการของเรา หลังจากนั้นก็คลิ๊กที่ปุ่มเครื่องหมายสามเหลี่ยม หรือ Update PR Button เพียงแค่นี้ตัวโปรแกรมก็จะประมวลผลและแสดง PR ให้เราได้ทราบกัน โดยจะแสดงแบ่งออกเป็น Column

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนะนำวิธีค้นหาและสร้าง Backlink ง่ายๆ

วันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือและวิธีการค้นหาและสร้าง Backlink ง่ายๆนะครับ เนื่องจาก Google ให้ความสำคัญกับ Backlink ที่เชื่อมโยงมาจากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ เกี่ยวข้องกัน หรือสอดคล้อง ดังนั้นเราควรไปฝาก Link ไว้กับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับเว็บไซต์ของเราเพราะเราจะได้ SEO Score จากตรงนี้ส่งผลให้ อันดับผลการค้นหาของเราดีขึ้น เราไปดูเครื่องมือตัวนี้กันเลยกับเว็บไซต์ Dropmylink คลิ๊กเลย ขั้นตอนก็ง่ายๆและฟรีอีกเช่นเคย ในการค้นหาก็เพียงแค่ใส่ Keyword ที่เราต้อง การจะค้นหาลงในช่อง Keyword ในส่วนของช่อง Find ก็คือวิธีการค้นหา Backlink จากที่ไหนจะมี Drop Down Menu ให้เลือก โดยมีรายละเอียดดังนี้

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จดโดเมนเนมฟรีกับ cu.cc

วันนี้เรามาแนะนำการจดโดเมนฟรีกับ cu.cc (PR4) นะครับ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือสำหรับผู้ต้องการทดสอบการทำ SEO ด้วย Domain Name ตรงๆ ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรมากไม่ได้ซับซ้อนอะไรนัก แค่เตรียมอีเมล์ที่ใช้งานจริงไว้สำหรับ Activate ก็พอ เริ่มต้นก็ไปที่หน้าเว็บกันเลย http://www.registry.cu.cc/ หลังจากนั้นบริเวณช่องว่างตรงกลางให้กรอกชื่อ Domain Name ที่เราคิดไว้คลิ๊ก Check Availability ถ้ายังไม่มีใครลงทะเบียนชื่อนี่บริเวณทางด้านซ้ายจะมีเครื่องหมายถูกสีเขียว Available ซึ่งสามารถใช้งานได้ ในส่วนของ Domain Option เราสามารถกำหนดการใช้งานได้ถึง 2 ปีนะครับ และเราสามารถลงทะเบียนใช้ Domain Name ได้สูงสุด 5 ชื่อนะครับต่อ 1 Account สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานฟรี คลิ๊ก Checkout

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Backlink Checker

ก็จะมาแนะนำเว็บไซต์อีกเว็บไซต์นึงที่เอาไว้ตรวจสอบ Backlink ที่เราได้ไปฝากไว้ตามเว็บไซต์ต่างๆ คล้ายๆกับเว็บไซต์ที่ได้แนะนำไปใน บทความ SEO ตอนที่แล้วนะครับ เว็บไซต์ที่เอาไว้ตรวจสอบที่นำมาแนะนำคือ Check Backlink ขั้นตอนการตรวจสอบก็ไม่มีอะไรยุ่งยากครับ ก็สามารถตรวจสอบได้เลยโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก เพียงแค่กรอก Domain Name เว็บของเราลงไปในช่อง Your Domain แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Check! รอซักครู่ระบบก็จะทำการประมวลผล วิธีการดูก็ไม่ยากครับ จะมีรายละเอียดให้เราได้ตรวจสอบกันอยู่ 3 ส่วน ส่วนแรกก็คือ Total Backlinks หรือจำนวนผลรวมของ Backlink ของเราทั้งหมดที่ระบบได้ทำการตรวจสอบพบ ส่วนที่สอง Website Address หรือชื่อเว็บไซต์ที่อ้างอิง Backlink ของเรา สามารถคลิ๊กเข้าไปดูได้ครับ ส่วนที่สาม PageRank หรือ ค่าคะแนน PR ของหน้านั้นๆที่เราได้ Backlink ครับ ลองเข้าไปทดสอบกันดูครับกับ SEO Tool ตัวนี้ ^^

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิธีตรวจสอบ Backlink

หลังจากที่เราได้ฝาก Link ไว้ตามเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝาก Link ไว้ตาม Social Bookmark หรือ Web Directory หรือตามเว็บบอร์ดที่เราเข้าไปใช้งาน หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สามารถสร้าง Link ได้ ที่นี่หลังจากเราฝากไปแล้วเวลาผ่านไป เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามี Backlink เท่าไหร่แล้วเราสร้างไว้เท่าไหร่แล้ว เก็บสะสมไว้เท่าไหร่แล้ว (จำไม่ได้) วิธีง่ายๆที่ได้ผลและนำมาแนะนำกันก็คือการตรวจสอบกับเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบ BL โดยเฉพาะนั้นเอง ซึ่งให้บริการฟรีครับ ขอแนะนำ Backlink Watch ครับเป็น Web Site สำหรับตรวจสอบ BL โดยเฉพาะวิธีการก็ใช้งานง่ายๆมากเพียงแค่กรอก URL ของ Web Site ที่เราจะทำการตรวจ สอบที่ช่อง Enter URL: แล้วก็คลิ๊ก Check Backlinks หรือกด Enter เพียงแค่นี้ระบบก็จะทำการตรวจสอบ Backlink ของเรา ขึ้นมาเป็นรายการ ให้เราทราบโดยวิธีการอ่านค่าในส่วนต่างๆของตารางนั้น ขออธิบายเป็นข้อๆดังต่อไปนี้ครับ
1. PR คือ ค่า PR ของหน้านั้นๆที่เราฝาก Backlink ไว้มีค่าเท่าไหร่
2. OBL คือ จำนวน Link ออกทั้งหมดใน หน้านั้นๆที่เราฝาก Backlink เอาไว้มีจำนวนเท่าไหร่
3. Flag คือชนิดหรือรูปแบบของ Backlink ที่เราได้รับ ตัวอย่างเช่น NoFollow
4. Total Backlinks คือผลรวมของ Backlink ที่เรามีทั้งหมดจากการตรวจสอบของระบบ
ก็ไปลองทดสอบใช้งานกันดูนะครับ กับบริการตรวจสอบ Backlink ดีๆ ฟรีๆ ครับ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันวิสาขบูชา

วันนี้พักเรื่อง SEO มาพูดถึงวันสำคัญทางศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของเราวันนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วันวิสาขบูชา หรือการบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการคือ เป็นวันประสูติ คือเกิด เป็นวันที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คือสำเร็จ และปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราว วันนี้เป็นวันหยุดราชการด้วย เกือบแทบทุกวัดจะมีการจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชากันด้วยครับเพื่อนๆพี่ที่ว่างจากธุรกิจหน้าที่การงาน วันนี้ก็มาทำบุญกันนะครับ ช่วงเช้าอาจจะมีการทำบุญตักบาตร หรือเข้าวัดถวายสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลา รักษาศีล ฟังธรรมเทศนาที่วัด หรือจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆ  บริจาคทรัพย์เพื่อการกุศล พัฒนาวัด เป็นต้น ในช่วงค่ำพุทธศาสนิกชน จะนำดอกไม้ธูปเทียนเพื่อไปเวียนเทียนรอบพระอุโปสถภายในวัด หาวัดใกล้ๆบ้านทำบุญกันนะครับ พี่น้องชาวไทย

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แนะนำ Add-On ตรวจสอบ DoFollow และ NoFollow

เป็นบทความ SEO ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ ในเมื่อเราทราบถึงรายละเอียดชนิดและประเภทที่เกี่ยวกับ Link DoFollow และ NoFollow กันไปแล้วที่นี่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเว็บที่เราฝากลิงค์ไว้เป็น Backlink ชนิดไหนกันแน่ วิธีการตรวจสอบจริงๆมีหลายวิธี แต่บทความนี้ เราขอแนะนำเครื่องมือ หรือ Tool ที่เอาไว้ตรวจสอบชนิดและประเภทของลิงค์ DoFollow และ NoFollow กันแถมใช้งานได้ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กไม่กี่คลิ๊ก ติดตั้งได้ไม่ยาก และที่สำคัญฟรีครับผม!! เครื่องมือตัวนี้เป็น Add-on ของ FireFox ไปโหลดกันเลย NoDoFollow (ตัว Update สามารถใช้งานกับ FireFox 11 ได้ครับ) หลังจากทำการติดตั้งด้วยขั้นตอนง่ายๆ เรามาดูวิธีใช้งานกันง่ายไม่แพ้ขั้นตอนติดตั้งเลยโดยหาพื้นที่ว่างบนหน้า Page ที่เราจะทำการตรวจสอบแล้วคลิ๊กขวาเลือกคำสั่ง NoDoFollow จะมีแถบสีที่ขึ้นบริเวณที่เป็นลิงค์ ถ้าเป็น Highlight สีน้ำเงินจะเป็นลิงค์ชนิด DoFollow แต่ถ้าเป็นแถบสีหรือ Highlight สีแดงจะเป็นลิงค์ชนิด NoFollow ครับ เป็นเครื่องมืออีกหนึ่งตัวซึ่งจำเป็นมากๆครับสำหรับการทำ SEO

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

DoFollow และ NoFollow คืออะไร ?

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO หรือการโปรเมทเว็บไซต์ของเราก็คือ Backlink ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Backlink กันให้มากขึ้นว่าเราไปสร้าง Backlink เพื่อโปรโมทกับเว็บไซต์ต่างๆนั้นเราได้เป็น Backlink ประเภทไหนกันครับ Backlink แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทก็คือ Backlink แบบ DoFollow และแบบ NoFollow
เรามาเริ่มต้นกันที่ DoFollow ก่อนละกันครับ Backlink ประเภทนี้เป็นลิงค์ที่ถือว่าดีที่สุดในการทำ SEO เพราะว่าเราจะได้รับทั้ง Traffic จากการที่เราฝากลิงค์ไว้และได้รับความสนใจจากผู้พบเห็นคลิ๊กตามลิงค์มา อย่างที่สอง RoBot เราจะได้ Robot หรือ Spider ของ Serch Engine ที่เข้ามาเก็บข้อมูลหน้า Page ที่เราฝากลิงค์นั้นๆไว้ไต่ตามลิงค์มาที่เว็บไซต์ปลายทางของเราเพื่อทำการเก็บข้อมูล หรือ Index และเปลี่ยนมาเป็น Backlink อย่างที่สาม เราจะได้รับการคำนวนค่า PR หรือ PageRank ค่าคะแนนจากเว็บต้นทางด้วย เพราะฉะนั้นถือได้ว่าลิงค์ประเภท DoFollow เป็น Backlink ที่เหมาะที่สุดและเยี่ยมสุดในการทำ SEO
รูปแบบลิงค์ชนิด DoFollow <a href=”http://yourwebsitename”>yourlinkname</a>
ที่นี่เรามาดูลิงค์แบบ NoFollow ลิงค์ประเภทนี้เราจะได้รับ Traffic จากการที่เราฝากลิงค์ไว้กับเว็บไซต์ต้นทางคล้ายลิงค์แบบ DoFollow รวมทั้ง เราจะได้รับการเก็บข้อมูลจาก Robot ของ Serch Engine ไต่ตามลิงคค์ตามเข้ามาเก็บข้อมูล หรือ Index ข้อมูลของเราและเป็น Backlink แต่ข้อแตกต่างจากลิงค์แบบ DoFollow ก็คือ เราจะไม่ได้รับการคำนวนค่า PR (PageRank) หรือค่าคะแนนของ Page จากเว็บต้นทางครับ
รูปแบบลิงค์ชนิด NoFollow <a rel=”nofollow” href=”http://yourwebsitename”>yourlinkname</a>

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

Google Banned

ตั้งชื่อหัวข้อซะน่ากลัวเลยนะครับ แต่เป็นความรู้ SEO ที่น่าสนใจมากในช่วงนี้ เรามาพูดถึงเรื่องการถูก Google Banned กันเพราะเนื่องจากตั้งแต่การปรับเปลี่ยน Algorithm ใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Panda ก็ได้ข่าวคราวเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่างๆที่ทำผิดกฎ หรือผิดเงี่อนไขโดยตรงของ Algorithm ตัวใหม่ ถูกลงโทษหลายเว็บไซต์ด้วยกัน โดยการลบข้อมูลออกจากฐานข้อมูลทั้งหมดของ Google โดยส่วนใหญ่ที่สังเกตได้จะเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมากจากการทำงานของ Script ต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์หรือผลทางด้านการค้า หรือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาต่าง IP Class C เป็นจำนวนมากแต่มีเนื้อหาข้อมูลทีเหมือนกัน หรือการสร้างลิงค์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ เพื่อวัตถุประสงค์และผลทางด้าน SEO ทีนี่เป็นคำถามยอดนิยมว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราถูกแบนจาก Google ก็มีขั้นตอนง่ายๆ ก็ให้ไปหน้าหลักของการค้นหา Google ลองพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์เราตรงๆดูว่ามีผลการค้นหาขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่แสดงผล ต่อไปก็ให้ลองพิมพ์คำว่า site:yourdomain.com หรือ link:yourdomain.com ตรวจสอบดูว่ามีข้อมูลของเว็บไซต์เราอยู่หรือไม่ถ้าไม่ก็สันนิฐานได้ว่าอาจจะถูกแบนจากฐานข้อมูลของ Google หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบ Google Banned Checker ดูจากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบครับมีหลายเว็บไซต์ที่แนะนำทาง Link ด้านล่างครับ

Google Banned Checker Iwebtool
Google Banned Checker SelfSEO
Google Banned Checker Dnxpert

(หมายเหตุ เป็นการตรวจสอบการแบนเฉพาะเว็บที่มีผลการค้นหาในฐานข้อมูลหรือ Index แล้วนะครับถ้าหากเป็นเว็บไซต์ใหม่สันนิฐานได้ว่ายังไม่ถูกเก็บลงฐานข้อมูลหรือยังไม่ Index ครับ)

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ความสำคัญของ BackLink

ปัจจัยที่สำคัญในอันดับต้นๆของหลายๆตัวแปรในการทำอันดับกับ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google หรือ Search Engine ชื่อดังของค่ายอื่นๆ ก็คงหนีไม่พ้น BackLink เพราะ Search Engine ทั้งหลายจัดอันดับการให้คะแนน และคุณค่าของเว็บไซต์ ส่วนหนึ่งก็มาจากจำนวนของ BackLink นั้นเอง ซึ่งการจะขึ้นไปอยู่ในอับดับที่ดีของเครื่องมือค้นหา ก็คือการหา BackLink เข้ามาที่เว็บไซต์เป็นจำนวนมาก แต่ BackLink ที่เข้ามาก็ควรเป็น BackLink ที่มีคุณภาพหรือมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตรงนี้ Search Engine จะให้คะแนนความน่าเชื่อถือและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การมี BackLink เป็นจำนวนมากนอกจากจะทำให้ผลการค้นหาดีขึ้น Robot เข้ามาเก็บข้อมูลบ่อยขึ้นแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะให้ผู้ชม หรือผู้ที่สนใจแวะเวียนเข้ามาที่เว็บไซต์เราอีก ด้วยการ Click ตาม Link เข้ามา อย่างไรก็ตามนอกจากการหา BackLink คุณภาพแล้วเรายังจะต้องปรับปรุงเว็บไซต์ และ UpDate เนื้อหา (Unique Content) ของเราให้ดีขึ้น มีคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ ให้สอดคล้องกับการหา BackLink แบบธรรมชาติ ถ้าทำได้อย่างนี้ อันดับผลการค้นหาที่ดีขึ้นก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ ConFirm!!

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

สวัสดีปีใหม่ไทย สวัสดีวันสงกรานต์


ในระหว่างวันที่ 13 - 15 เม.ย ตามปฎิทินของไทย ก็จะเป็นวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเรานี่เองที่หลายๆท่านรอคอยเป็นเทศกาลวันหยุดยาวช่วงหนึ่งของไทย ปีนึงได้พักผ่อนกันนานๆซักที ก็ขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ใครที่เดินทางกลับบ้านก็ขอให้เดินทางถึงที่หมายโดยปลอดภัย ใครที่เล่นน้ำก็เล่นกันอย่างสนุก เล่นกันเพลินๆนะครับ มีอะไรกระทบกระทั่งกันนิดหน่อยก็ให้อภัยกันนะครับ เล่่นน้ำก็ระมัดระวังความปลอดภัยด้วย แล้วก็อย่าลืมไปทำกิจกรรมสำคัญตามประเพณีไทยของเราในวันสงกรานต์ด้วยการแสดงความเคารพและความกตัญญู ต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์ แล้วก็ผู้มีพระคุณ ด้วยการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ พร้อมทั้งรับคำอวยพร และขอพรในวันปีใหม่ไทย ทำบุญ ตักบาตร สรงน้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตกับตัวเราเอง และคนที่เรารัก จะได้จิตใจชื่นบานเย็นช่ำกันไปตลอดปี สวัสดีวันสงกรานต์ สวัสดีปีใหม่ไทยครับ พี่น้องชาวไทย

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

TLD คือ ?

เนื้อหาของ ความรู้ SEO ยังคงเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Domain นะครับ เนื่องจากในบทความ SEO ที่แล้วเรามีพูดถึงกัน แต่อาจจะยังมีใครที่ยังไม่ทราบหรือยังไม่เข้าใจ ก็ถือโอกาสเขียนซะเลย มีให้เขียนเยอะจริงๆเจ้า Domain เนี้ยเอาละมาว่ากันต่อเรื่อง TLD (ทีแอลดี) นั้นย่อมาจาก Top-Level Domain หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า โดเมนระดับบนสุด หรือขั้นสูงสุด หน้าที่หรือความหมายของมันจริงๆเราๆก็เห็นกันอยู่บ่อยๆนะครับ ก็คือองค์ประกอบสำคัญที่จะมีอยู่ในส่วนต่อท้ายจากชื่อของทุกๆ Domain Name ของเรานี่แหละเช่น .com .net .info .co.th ซึ่งโดเมนในระดับนี้ยังแบ่งแยกย่อยออกไปเป็นได้อีก 2 แบบหรือ 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะการจัดการและดูแลโดเมนของ ICANN ได้แก่ โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป (General Top-Level Domain: gTLD) ซึ่งก็คือ .com .net .org .biz .info ฯลฯ และโดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (Country-Code Top-Level Domain: ccTLD) หรือโดเมนประจำสัญชาติ เช่น .th ของไทย .fr ของฝรั่งเศลเป็นต้น ซึ่งโดนเมนประจำสัญชาติยังสามารถแยกย่อยแบ่งออกได้อีกตามกำหนดกฎเกณฑ์ของการขอจดทะเบียนของแต่ละชาติ เช่น co.th สำหรับธุรกิจ .go.th สำหรับหน่วยงานราชการเป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาก็เป็นปัจจัย หรืออีกตัวแปรหนึ่งที่สำคัญในการทำ SEO ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ปัจจัยการทำ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ Domain และ Site ตอนที่ 2

Domain Presence In Google News
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมเผยแพร่บริการข่าวของ Google News
Domain Presence In Google Blog Search
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการการมีส่วนร่วมหรือผลมีผลการค้นหาใน Google Blog Search ประเภท Feed
Use Of The Domain In Google Analytics
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลงทะเบียนใช้งาน Google Analytics
Server Geographical Location
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาค หรือภูมิศาสตร์ที่อยู่ที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ เกี่ยวข้องกับผลการค้นหา
Server Reliability/Uptime
ปัยจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสถียรภาพที่ดีของเซิร์ฟเวอร์ไม่ล่มบ่อย ให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
PageRank Of A Page (The Actual PageRank, Not The Toolbar PageRank)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าคะแนนจริงๆของ PageRank ที่ตรวจสอบจริง
The Speed Of The Website
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเร็วของการเรียกข้อมูลของเว็บไซต์
Reputable Hosting Company
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของโฮสที่ให้บริการ เปิดให้บริการมานาน
Geo-Located Results
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ตั้ง ประเทศ ภูมิภาค ของผลการค้นหา
An Active Google Adsense Campaign
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมบริการของ Google Adsense
The Number Of Pages On The Topic Related
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเนื้อหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
Wikipedia Listing?
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีรายชื่อมีข้อมูลอยู่ใน Wikipedia
Listed in DMOZ?
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีรายชื่ออยู่ใน Web Directory DMOZ
Number Of Pages Within Site (More Is Better)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจำนวนหน้าภายในเว็บไซต์ทั้งหมดยิ่งเยอะเท่าไหร่ยิ่งดี
Website Size (Bigger Is Better)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขนาดของเว็บไซต์ยิ่งใหญ่ยิ่งดี

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ปัจจัยการทำ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ Domain และ Site ตอนที่ 1

ปัจจัยการทำ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ Domain และ Site
1. Domain age
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับอายุของโดเมนยิ่งเก่าเท่าไหร่ยิ่งมีความน่าเชือถือมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเก่ายิ่งดี
2. Length of Domain Registration
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความยาวของตัวอักษรของชื่อโดเมนที่ใช้ลงทะเบียนควรที่จะสั้นๆแต่ได้ใจความไม่ยาวจนเกินไป
3. Domain Registration Information Hidden/Anonymous
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการเปิดเผยข้อมูลการลงทะเบียน Domain โดนปิด หรือซ่อนไว้ และไม่ระบุชื่อผู้จดทะเบียนโดเมน
4. Site Top Level Domain (Geographical Focus E.G. Com Versus Co.uk)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับโดเมนระดับบนสุด ดูปัจจัยตามภูมิภาค ภูมิศาสตร์ หรือตามประเทศนั้นๆ เช่นเปรียบเทียบ .Com กับ .Co.uk จะดูมีความน่า เชื่อถือ และอันดับที่ดีกว่าถ้า Search Google ในประเทศ UK ภูมิภาค หรือภูมิศาสตร์นั้นๆ
5. Site Top Level Domain (E.G. .Com Versus .Info)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับโดเมนระดับบนสุดของโดเมน เช่น .Com เปรียบเทียบกับ .Info หรือโดเมนสกุลต่างๆ ความหมาย .Com น่าจะมีความน่าเชื่อถือในสายตาของ Search Engine อย่าง Google มากกว่า .Info
6. Sub Domain or Root Domain?
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์อยู่ใน Main Root หรือ Subdomain
7. Domain Past Records (How Often it Changed IP)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง IP บ่อยแค่ไหน หรือว่าย้ายที่อยู่ Host บ่อยๆนั่นเอง
8. Domain Past Owners (How Often The Owner Was Changed)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความถี่ของการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนมือเจ้าของโดเมนที่ผ่านมาว่าบ่อยแค่ไหน
9.Keywords In The Domain
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการมีคีย์เวิร์ดผสมอยู่ใน Domain Name
10. Domain IP
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ IP ของโดเมน
11. Domain IP Neighbors
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ IP ของโดเมนเพื่อนบ้านที่เชื่อมกัน
12. Domain External Mentions (Non-Linked)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงโดเมนภายนอก ซึ่งไม่ใช่ลิงค์
13. Geo-Targeting Settings in Google Webmaster Tools
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าระบุ ภูมิภาค หรือภูมิศาสตร์ใน Google Webmaster Tools
14. Domain Registraction With Google Webmaster Tools
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนโดเมนกับ Google Web Master Tools
15. The Page Rank of The Entire Domain
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่า PageRank ภายใน Domain ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีการเตรียมพร้อมเผชิญกับ Google Panda Algorithm ตอนที่ 2

หลังจากพอทราบกันคร่าวๆกับความหมายของ Unique Content และการ Update Algorithm ตัวใหม่ของ Google ใน บทความ SEO ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ถึงแนวทางการรับมือและปรับกลยุทธ์การทำเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับ Panda Algorithm ได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการก็คือพยายาม Update เนื้อหาหรือข้อมูลของเว็บให้บ่อยๆ อย่างน้อยวันละครั้ง ทำเว็บเราให้มีคุณภาพมากขึ้น (High Quality Site) โดยการสร้างเนื้อหาให้เป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของผู้ใช้งานเครื่องมือค้นหา หรือคนอ่าน และ Bot ที่เข้ามาทำการเก็บข้อมูล โดยการเขียน Unique Content ที่ไม่ซ้ำกับของใคร ด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะเป็นการ รีไรท์ (Rewrite) โดยการนำบทความที่มีประโยชน์และตรงกับเนื้อหาของเว็บเรามาทำการเขียนขึ้นใหม่ โดยให้เนื้อหาหลักๆ หรือประเด็นหลักที่สำคัญๆยังคงอยู่ เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ หรือจะใช้โปรแกรม Spin บทความที่มีให้ใช้มากมายหลายๆผู้พัฒนาโปรแกรมทั้งของไทย และของต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งในรูปแบบฟรีและเสียตังค์ อาทีเช่น The Best Spinner, Article Spiner, geWrite เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ดูแลหลายๆเว็บไซต์ หรือผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาซึ่งช่วยประหยัดเวลาไปได้เยอะมาก หรือจะหาข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างประเทศและแปลความหมายด้วยท่านตัวเอง หรือผ่านเครื่องมือการแปลก็ดี แต่อย่างไรก็ตามการเขียนเนื้อหาให้ Unique Content ด้วยข้อมูล หรือจากประสบการณ์ที่เราหามาด้วยตัวเราเองก็เป็นความภูมิใจและเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

Unique Content คืออะไร ?

หลายคนอาจะยังไม่เข้าใจเลยขอโอกาสอธิบาย และทำความเข้าใจกันก่อนที่จะอ่าน บทความ SEO และ ความรู้ SEO ตอนที่ 2 รับมือกับ Google Panda Algorithm ว่า Unique Content คืออะไร ? Unique Content ก็คือเนื้อหาคุณภาพที่เราค้นคว้าหาข้อมูลและเขียนขึ้นเอง หรือปรับแต่ง (Rewrite) ขึ้นเอง เป็นเนื้อหาแรก หรือเนื้อหาต้นฉบับที่ไม่ซ้ำกับของใคร และถูก Index เข้าฐานข้อมูลของ Search Engine เป็นที่แรก ซึ่ง Unique Content เป็นสิ่งที่ Bot ของ Search Engine ชอบ และปราณนาที่สุด และเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งเช่นกันสำหรับ การทำ SEO ดังคำพูดที่ว่า "Content is King and Link is Queen" ครับ

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเตรียมพร้อมเผชิญกับ Google Panda Algorithm ตอนที่ 1

เป็น ความรู้ SEO ตอนต่อจาก บทความ SEO ที่แล้วนะครับ เนื่องจากหลังที่มีการ Update Algorithm ตัวใหม่ที่มีรหัส หรือ Code เก๋ๆที่เรียกว่า "Panda" ตามชื่อวิศวกรของทีมคนหนึ่ง นั้นทำให้หลายเว็บไซต์โดนผลกระทบเข้าไปเต็มๆ โดยเฉพาะบรรดาเว็บไซต์ Article ชื่อดังหลายราย และเหล่าบรรดาผู้ใช้ Script ในการปั่นเพื่อดึง Content ทั้งหลาย บ้างก็โดนลดอันดับลงจากที่เคยอันดับดีๆก็ค่อยๆหายไป หรือหนักๆหน่อยก็โดนแบน หรือ Deindex ไปเลย ตามที่เราเข้าใจกันดีแล้วจาก บทความ SEO ที่ผ่านมาว่า จุดประสงค์หลักๆที่ออก Update ตัวใหม่นี้ก็เพื่อกำจัดเว็บที่ไม่มีคุณภาพ (Low Quality Site) หรือเว็บที่มีเนื้อหาเป็น Content Farm ทั้งหลาย จากการวิเคราะห์ศึกษา และเข้าใจในระบบ Panda Algorithm ให้มากขึ้นเราก็สามารถหามาตรการเอาตัวรอด และรับมือกับ Algorithm ตัวใหม่นี้ได้ ก็คือ เราต้องทำให้เว็บเรามีคุณภาพที่สุด (High Quality Site) ทั้งในสายตาของระบบ และผู้ใช้งานเครื่องมือค้นหา และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ เนื้อหา หรือ Content นี้เอง โดยที่เนื้อหาต้องใหม่หรือ Fresh Content ต้องเขียนขึ้นเอง ค้นหาข้อมูลเอง โดยเนื้อหาไม่ซ้ำ หรือคัดลอกเว็บอื่นมา หรือที่เรียกกันว่า Duplicate Content นั้นเอง

Google Panda Algorithm

Google Panda Algorithm เป็น Algorithm ที่ถูกปรับปรุงใหม่ล่าสุดของทีมงาน Google โดยจุดประสงค์หลักๆของการพัฒนาอัลกอริทึ่ม ตัวนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อมาตรการการจัดการกับ สแปมแบบใหม่หรือ Content Farm ที่จ้างคนมาเขียนเนื้อหา "คุณภาพต่ำ" แบบเยอะๆ เร็วๆ จากนั้นทำ SEO เพื่อให้ติดอันดับกูเกิลสูงๆ และทำการวิเคราะห์เว็บไซต์ที่เข้าข่าย เว็บที่ไม่มีคุณภาพ หรือเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ (Low Quality Site) ที่ทำการก็อปปี้เนื้อหาข้อมูลมากจากเว็บไซต์อื่นๆ (Duplicate Content) ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานที่ทำการค้นหาข้อมูล แต่ในขณะเดียวกัน เว็บไซต์ที่มีคุณภาพจริงๆ (High Quality Site) ที่เป็นเจ้าของเนื้อ และข้อมูล ที่ตั้งใจและมีประโยชน์จริงๆ จะทำให้ติดอันดับผลการค้นหาที่ได้ดีขึ้น เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง Algorithm ตัวใหม่ที่ออกมานี้มีผลกระทบประมาณ 11.8 % ของผลการค้นหาของเว็บไซต์โดยรวมทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

Domain Age อายุโดเมน กับ SEO

อายุโดเมน (Domain Age) นั้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในเรื่องของการทำ SEO ในการให้คะแนน ถูกจัดอันดับ สังเกตได้จาก โดเมนเก่า ที่มีอายุมาก มักจะทำอันดับได้ดีและค่อนข้างนิ่งกว่า โดเมนใหม่ หรือถ้ายิ่งอายุของ โดเมน มีมากโอกาสที่จะอยู่ อันดับสูงก็มีมากกว่าเว็บไซต์ที่มีอายุ โดเมน น้อยกว่า เพราะว่า Search Engine อย่าง Google ได้นำเอาเรื่องของ อายุโดเมน มาเป็นตัวแปรหนึ่งที่ใช้ในการจัด อันดับเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามถ้าต้องการใช้ โดเมนเก่า ใน การทำ SEO ก็ควรที่จะต้องตรวจสอบประวัิติ โดเมน ให้ดีด้วยเช่นกันครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนะนำวิธีใช้งาน Free Monitor For Google ตรวจสอบอันดับ

โปรแกรม Free Monitor For Google เป็น Free SEO Software อีกตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับ Monitor หรือตรวจสอบอันดับ และ Ranking ใน Google ในหลายๆ Keyword วิธีใช้งานค่อนข้างง่ายมากๆและไม่กินทรัพยากรเครื่องมากนัก จากค่าย Cleverstat ที่สำคัญสามารถตรวจสอบ Google ประเทศไทยได้อีกด้วย หลังจากที่เรา Download ตัวโปรแกรมและ Install โปรแกรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มต้นใช้งานกันได้เลยโดย Click ที่ Icon โปรแกรม คลิ๊กที่เครื่องหมาย + หรือเรียกที่ว่าปุ่ม Add URL หลังจากนั้นทำการเพิ่ม Site URL ของเราลงไปและคลิ๊กที่ปุ่ม OK จะมี Dialog Project Properties ขึ้นมาในที่นี้เราก็จะเพิ่ม Keyword (ต.ย ความรู้ SEO) ที่เราจะทำการตรวจสอบอันดับลงไปแล้วกดปุ่ม Add จะเพิ่มหลายๆ Keyword ก็ได้นะครับ หลังจากนั้นคลิ๊ก OK ต่อไปก็จะเป็นการตรวจสอบอันดับของเราโดยการคลิ๊กที่ Icon แว่นขยายหรือปุ่ม Search นั้นเองจากนั้นรอซักพักโปรแกรมจะทำการประมวลผล และจะแสดงตำแหน่ง หรือ Position ในหน้าต่าง Checklist Resultsในปัจจุบันของเราว่าอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ ซึ่งข้อดีอีกข้อหนึ่งของตัวโปรแกรมคือ สามารถเปรียบเทียบตำแหน่งที่ดีที่สุดและตำแหน่งปัจจุบันได้อีกด้วย ว่าอันดับดีขึ้นหรือแย่ลง ทั้งนี้ยังมีคำสั่ง Options ไว้ปรับแต่งส่วนต่างๆ ค่า Results ด้วยว่าจะให้แสดงเท่าไหร่กี่ลำดับ สูงสุดถึง 200 และต่ำสุดที่ 10 ครับ (แนะนำให้ปรับเป็น 10 เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบครับ) เป็นอย่างไรกันบ้างลองไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ นับว่าเป็นโปรแกรมที่มีการใช้งานได้ง่ายมากๆ และที่สำคัญฟรีไม่เสียตังค์ครับ Free Monitor For Google

ตัวแปรอะไรบ้างที่เพิ่มค่า TrustRank

มาว่ากันต่อเนื้อหาจากบทความที่แล้วนะครับ ในเรื่องของ Turstrank หรือค่าความน่าเชื่อถือ ว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ดูตามรูปภาพประกอบด้วยนะครับ จะได้เข้าใจได้มาขึ้น อย่างแรก SSL Certificate หรือ Secure Socket Layer Protocol ก็คือ เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority) เครื่องหมาย เหล่านี้ จะเป็นการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย SSL ซึ่ง CA เป็นผู้อนุมัติ SSL Certificate ให้แก่เว็บไซต์ เพื่อยืนยัน การมีตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์และเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ ของการเข้ารหัสข้อมูลผ่าน SSL ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ให้กับผู้ใช้งานใน การรับ - ส่งข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ บริการนี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ Ecommerce (ขายของออนไลน์) หรือเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญในการรับ ส่งข้อมูลสูง อย่างที่สอง "Hacker Safe" Services and Logo มี Logo ของผู้ให้บริการ หรือองค์กรที่เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภับ ป้องกันข้อมูลต่างๆในเว็บไซต์ อย่างที่สาม มีการจดทะเบียน Domain Name ระยะยาวถึง 10 ปี อย่างที่สี่ มีหน้าเพจที่มีแจ้งรายละเอียดข้อมูลการติดต่อ หรือ Contact Us เช่น เลขที่อยู่ ถนน จังหวัด ประเทศ รหัสไปรษณีย์ อย่างที่ห้า มีหน้าเพจที่แจ้งรายละอียด นโยบายความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Policy ที่ชัดเจน อย่างที่หก มี Links มาจากการสมัครเป็นสมาชิกของ เว็บไซต์ Better Business Bureau, Chamber of Commerce เป็นต้น แต่ละข้อโหดๆทั้งนั้นเลยครับ

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

TrustRank คืออะไร ?

เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วในเหล่านักทำ SEO หรือ Search Engine Optimizer ทั้งหลายสำหรับ PageRank ที่กูเกิลคิดค้นขึ้นมาสำหรับจัดระดับให้แต้มหน้าเพจหรือหน้าเว็บที่มีประสิทธิภาพ แต่หลังจากที่นำระบบ PageRank ออกมาใช้งานได้ซักพักนึงก็พบว่ามีข้อบกพร่องอยู่หลายแห่ง ทั้งในเรื่องของกลโกง PageRank ด้วยการจัดทำ Network Link ของตัวเองขึ้นมา แล้วจับเว็บที่มีอยู่ลิงค์กันเองเพื่อโอน หรือถ่ายเทคะแนน PageRank จึงทำให้ทางกูเกิลต้องคิดค้น และพัฒนาสร้าง TrustRank ขึ้นมา เพื่อปราบปรามกลุ่มบรรดานักทำ SEO สมองใสทั้งหลาย โดยแนวคิดของการให้ TrustRank นั้น จะทำโดยฐานรากที่ว่า เว็บที่มีประสิทธิภาพทั้งหลายจะไม่ยอมทำลิงค์ไปหาเว็บที่ไร้คุณภาพโดยเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ทางกูเกิลจึงทำการเลือกสรรเว็บไซต์ที่กูเกิลคิดว่ามีคุณภาพขึ้นมา เว็บไซต์ที่ได้รับการคัดเลือกจะมีค่า Trust Score ที่สูงมาก โดยเรียกเว็บไซต์เหล่านี้ว่า Seed Site สำหรับ Seed Site นั้นจะมีหน้าที่ส่งลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มค่า Trust Score ให้เว็บไซต์เหล่านั้น หากเว็บไซต์ใดได้รับลิงค์แบบ DoFollow Link จาก Seed Site แล้ว จะทำให้เว็บไซต์นั้นๆได้ค่า Trust Score สูงตามไปด้วย แต่หากเราทำลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่นๆบ่อย หรือมากเกินไป ค่า Trust Score ที่เราได้ ก็จะรั่วไหลออกไปหาเว็บอื่นๆด้วยเช่นกัน และในทำนองเดียวกัน หากเราได้ลิงค์จากเว็บไซต์ที่ได้รับค่า Trust Score จากเว็บ Seed site เราก็จะได้ Trust Score ด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่า TrustRank นั้นไม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเล่นๆแน่นอน มันจะถูกนำไปประมวลเพื่อจัดระดับการแสดงผลในกูเกิลด้วย และอาจจะมีน้ำแต้มคะแนนที่สูงขึ้นเรื่อยๆต่อไปในภายภาคหน้า สำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับคัดสรรให้เป็น Seed site จากกูเกิลนั้นเท่าที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ได้แก่ เว็บไดเรคทอรีอย่าง Dmoz.org และ Yahoo Directory ถ้าเทียบจำนวนรวมแล้วในโลกนี้มีเว็บเพียงไม่กี่แห่งที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Seed site

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

Link Wheel คืออะไร ?

Link Wheel คือ Backlink อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะการทำลิงค์เชื่อมโยงในรูปแบบ หรือโครงสร้างเป็นวงกลม ล้อมรอบเว็บไซต์หลัก  และส่งลิงค์ทั้งหมดยิงตรงกลับมายังเว็บไซต์หลัก เพื่อให้ Robots ของแต่ละ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูล  ไปตามรูปแบบ หรือโครงสร้างที่เราได้ออกแบบเอาไว้ โดยแต่ละเว็บที่ส่งลิงค์กลับมาควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องหรือใกล้เคียงกันกับเว็บไซต์หลัก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่าย  ซึ่งแนวทางในการทำ Link Wheel นั้นเป็นระบบของการทำ SEO อย่างง่ายๆ เบื้องต้น เพื่อดันคีย์เวิร์ดให้ติดอันดับได้รวดเร็ว

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

UIP คือ อะไร ?

วันนี้เรามาพูดถึงเรื่อง UIP คืออะไร กันดีกว่าเข้าใจว่ายังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ และอยากจะรู้ หรืออาจจะมีบางคนที่รู้แล้ว แต่อาจจะลืมไปแล้วก็ได้ วันนี้เลยถือโอกาสทบทวน หรืออธิบายสั้นๆง่ายครับ ว่า UIP ย่อมาจาก Unique IP หรือไม่ก็ UIP หมายความว่า ตัวบ่งชี้ปริมาณ หรือจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยการประมวลจาก IP Address ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่เหมือนกันในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น จำนวน IP Address ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่ซ้ำกันในเวลา วัน เดือน ปี ตามลำดับ ซึ่งจะได้จำนวนรวม หรือตัวเลข ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เช่น UIP รายวัน มีค่า 200 คือ ตัวเลข IP ของคนเข้าเยี่ยมชม หรือแวะเวียนมาดูเว็บไซต์ไม่ซํ้ากันในวันนี้ 200 คน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

Keyword Density คืออะไร ? ตอนที่ 2

ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการจำกัด % ของ Keyword Density เนื่องจาก การที่หน้าเวบของคุณมีความหนาแน่นมากๆ เหล่า Search Engine จะเพ่งเล็งเว็บของคุณเป็นพิเศษ เพราะนั่นถือว่าคุณกำลัง Spam Keyword เพื่อให้บอทอ่านมากเกินไปนั่นเอง ทั้งนี้ การคิด เปอร์เซ็นต์ Keyword นั้น ทุกๆ Search Engine จะไม่สนใจ พวก Stop Words และ Stop Phrases นะครับ Stop Words หรือ Stop Phrases คืออะไร ? ก็คือ คำที่ไม่เกี่ยวข้องในเนื้อหา ไม่มีความหมายซึ่งจะสามารถเป็น Keyword ได้ เช่นพวก a, is, the, so, that, this, are เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เราควรทราบก็คือ เครื่องมือวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ความหนาแน่นส่วนใหญ่ นั้น ไม่ฉลาดพอที่จะตัดพวก Stop Words เหล่านี้ทิ้งไป ในการคำนวณ Keyword Density ดังนั้นหมายความว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ Keyword Density ที่เราวิเคราะห์ได้จากเครื่องมือ กับ Search Engine จะมีค่าไม่เท่ากัน (%ที่ Search Engine คิดได้จะสูงกว่าพวกเครื่องมือวิเคราะห์เหล่านี้ เพราะมีตัวหารน้อยกว่า) ทีนี้คงเข้าใจเรื่องราวของ Keyword Density พอสมควรแล้วนะครับ ไปปรับแต่งกันได้เลย ส่วนตัวผมปรับประมาณ ไม่เกิน 7% เท่านั้นเองครับ แนะนำเครื่องมือช่วยตรวจสอบความหนาแน่นของ Keyword ครับ Keyword Checker

เครดิต Seosamutprakarn

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

Keyword Density คืออะไร ? ตอนที่ 1

Keyword Density คือความหนาแน่นของคำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ดของเว็บไซต์ ซึ่งจะส่งผลให้ Search Engine เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเราต้องการสื่ออะไร หรือเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร ยกตัวอย่างเช่น ผมทำเว็บขึ้นมาหนึ่งเว็บ ชื่อเว็บว่า ลูกหมา.com ซึ่งชื่อเว็บบอกอยู่แล้วว่าจะต้องทำเกี่ยวกับหมา หรือลูกหมา แต่ถ้าในเว็บไซต์ของผมดันไปพูดถึงแต่เรื่อง Google เรื่องการหาเงิน Amazon Adsense มันคงไม่ถูกต้องนัก ดังนั้นในเว็บไซต์ ลูกหมา.com นี้ควรมีคำว่าลูกหมาอยู่ในบทความต่างๆ พอสมควร แต่ว่าไอ้พอสมควรเนี่ยคือเท่าไรกันเล่า จริง ๆ การคิด Keyword Density นั้น เราสามารถพิจารณาได้ทั้งสองแบบเลยครับ คือ
1. Keyword Density ทั้งเว็บ
2. Keyword Density เฉพาะบทความ 1 บทความ หรือ Page หนึ่ง Page
สมการของ Keyword Density คือ (จำนวน Keyword ที่เราสนใจ / จำนวนคำทั้งหมด)x100
โดยเปอร์เซนต์ความหนาแน่นที่เหมาะสม เป็นดังนี้ครับ
1. เราสามารถใส่ Keyword ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะไม่ให้ Google แบน คือ ประมาณ 12 – 20 % (อันนี้หมายถึงเปอร์เซ็นต์ Keyword ทั้งหมดของทั้งเวบนะครับ) โดยคุณสามารถที่จะรู้ได้ว่า % Keyword ทั้งหมดของเวบคุณอยู่ที่เท่าไหร่ โดยลอง Search ใน GG ด้วยคำว่า Keyword Density Analyzer ดูนะครับ จะเวบไซต์มากมายที่สามารถคำนวณ % Keyword ของเวบไซต์ของคุณได้  (ใส่ URL ของเวบ)
2. ทีนี้พูดถึง % Keyword เฉพาะบทความ 1 บทความ หรือ Page หนึ่ง Page สามาถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้
2.1 กรณีเนื้อหาในหน้า Page นั้น มีคำมากเกิน 600 คำขึ้นไป ควรมี Keyword Density ไม่เกิน 10%
2.2 กรณีเนื้อหาในหน้า Page นั้น มีคำน้อยกว่า 600 คำ ควรมี Keyword Density ไม่เกิน 20 %
สาเหตุที่ต้องมี 2 กรณี คือ ในเนื้อหาสั้นๆ นั้นจะทำให้มีตัวหารน้อย ตัวเลขของความหนาแน่นก็จะมีมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง

เครดิต Seosamutprakarn

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

10 จุดสุดยอดในการใช้ Keyword ในการทำ SEO

การใช้ Keyword ในการทำ Search engine Optimization หลายคนที่เป็นมือใหม่ อาจจะไม่มั่นใจหรือใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นแนวทางให้สำหรับ ผู้ที่ยังไม่มั่นใจหรือยังไม่รู้ว่าจะใช้ยังไง ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่ามัวเสียเวลาครับเริ่มต้นกันเลยดีกว่า
1. ใช้ keyword ที่บริเวณ ชื่อหน้าเพจ (Title) ให้เราใส่ Keyword ที่เราต้องการจะใส่โดยให้น้ำหนักจากการเรียงจาก ซ้ายไปขวา ตัวอย่างการใช้งาน [title] keyword หลัก, keyword รอง, keyword อื่นๆ [/title] เป็นต้น
2. ใช้ keyword ที่บริเวณ ชื่อหัวข้อของเนื้อหา (Heading Tag) โดยการใช้ h1,h2,h3 เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน [h1] Keyword [/h1] หรือ [h2] Keyword [/h2] เป็นต้น
3. ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนแรก (First Content) ให้ใส่ Keyword ไว้ในตำแหน่ง 20 คำแรกโดยประมาณ ให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้ตัวอักษรลักษณะเอียงก็ได้ ตัวอย่างการใช้งาน [body][p] Keyword [/p][/body]
4. ใช้ keyword ที่บริเวณ ลิงค์เชื่อมโยงมาตรฐาน (Standard Text Link) คือการเชื่อมโยงในลักษณะ การใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword ผสมเข้าไปด้วย ตัวอย่างการใช้งาน [a href="http://www.yoursite.com"] Keyword [/a]
5. ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนสุดท้ายของหน้า (The Last Content) เพื่อเน้นย้ำ หรือใช้ในการสรุปเนื้อหา อาจจะใช้เป็นลักษณะตัวเอียงหรือหนาก็ได้ครับ ตัวอย่างการใช้งาน [p] Keyword [/p] [/body]
6. ใช้ keyword ที่บริเวณ เมนูเลื่อนลง (Drop Down Menu) Drop Down Menu นี้เป็นที่ซ่อน Keyword ที่ดีอีกที่ที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ ตัวอย่างการใช้งาน [form] [option] Keyword [/option] [/form]
7. ใช้ keyword ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ (Folder Name, File Name) วิธีนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจพอสมควรครับ กับการทดลองใช้ในหลายๆเว็บที่ผมลอง หากต้องใช้ Keyword มากกว่า 1 พยางค์ ควรใช้เครื่องหมาย "-" เป็นตัวคั่นกลาง ตัวอย่างการใช้งาน /Keyword/Keword.html,Keyword.jpg หรือ Keyword1-Keyword2.html
8. ใช้ keyword ที่บริเวณ คำอธิบายรูปภาพ (Images Alt Tag) การ ใช้ Tag Alt เข้าช่วยนั้นเพราะว่า Serach Engine นั้นไม่รู้จักรูปภาพเราสามารถบอก Search Engine รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพของอะไรได้โดยใช้ Tag Alt นี้เข้าช่วย ตัวอย่างการใช้งาน [img src="images address" alt="Keyword"]
9. ใช้ keyword ที่บริเวณคำอธิบาย ลิงค์ (Text Link Title) การใช้ Text Link Title นั้นคล้ายการใช้ Tag Alt เพียงแต่ Tag นี้ใช้อธิบาย Link ตัวอย่างการใช้งาน [a href="http://www.yoursite.com" title="Keyword"]Keyword [/a]
10. ใช้ Keyword จด Domain name ด้วย Keyword (Domain Name Register) การใช้ Keyword หลักของเว็บในการจด Domain Name นั้นหากทำได้ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ

เครดิต ThaiSeo

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของ Meta Tag ตอนที่ 3

มาต่อกันเลยครับกับ Meta Revisit-After Tag ที่ใช้สำหรับบอกกับ Robot ของ Search Engine ว่าให้มาเก็บข้อมูลอีกทีในอีกกี่วัน เหมาะสำหรับเว็บที่มีการอัพเดทข้อมูลไม่บ่อย ตัวเลขเราสามารถที่จะระบุได้ตามที่เราต้องการครับ
<meta name=”revisit-after” content=”7 days” />
Meta Tag ที่ใช้สำหรับบอกเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจนี้ ใส่ชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างลงไป
<meta name="generator" content="Dreamweaver">
Meta Tag ที่ใช้สำหรับสั่งให้ Refresh หน้าเว็บเพจที่แสดงผลอยู่อัตโนมัติ เลข 3 คือ จำนวนวินาทีที่ต้องการให้ Refresh index.html คือใส่ข้อมูลหน้าีที่ต้องการให้ Refresh
<meta http-equiv="refresh" content="3; url=index.html">
Meta Tag สำหรับสั่งให้ Re-direct หน้าเว็บเพจอัตโนมัติ Redirect คือการให้เปลี่ยนหน้าเว็บเพจที่แสดงผลอยู่ ไปแสดงผลอีกหน้าที่เราตั้งไว้โดยอัตโนมัติ เลข 5 คือจำนวนวินาทีที่จะให้แสดงหน้าแรกก่อน 5 วินาทีจึงจะเปลี่ยนไปแสดงอีกหน้าที่เราตั้งไว้ Url คือเว็บไซต์ที่เราต้องการให้ Re-direct ไป
<meta http-equiv="refresh" content="5;url=http://www.pookpligg.com">
Meta Tag สำหรับสั่งไม่ให้ Robot ของ Search Engine มาเก็บหน้าที่แสดงผล
<meta name="robots" content="noindex,nofollow">

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความสำคัญของ Meta Tag ตอนที่ 2

Meta Keyword Tag
ที่ใช้บอกและแสดงสำหรับคำค้นหา บอกคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้าเว็บเพจนั้นๆ สามารถใส่ได้หลายคำค้นหา แนะนำ 1 - 3 คีย์เวิร์ดครับ โดยใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (,) เป็นตัวคั่นครับ
<meta name="keywords" content="ความรู้ SEO,บทความ SEO,SEO เบื้องต้น">
Meta Description Tag
คำสั่งที่ที่ใช้บอกรายละเอียดต่างๆโดยรวม ที่เกี่ยวกับเว็บเพจนั้น โดยเขียนให้รายละเอียด สัมพันธ์กับคีย์เวิร์ดและเนื้อหาของเว็บเพจ
<meta name="description" content="สอนทำ SEO เบื้องต้นแบบง่ายๆ เหมาะสำหรับมือใหม่">
Meta Author Tag
คำสั่งที่ใช้สำหรับบอกชื่อผู้เขียนเว็บเพจนี้
<meta name="author" content="SeoGang">
Meta Copyright Tag
คำสั่งที่ใช้สำหรับบอกผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
<meta name="copyright" content="SeoGang">
Meta Language Tag
คำสั่งที่ใช้สำหรับบอกว่า หน้าเว็บไซต์นั้นๆ มีเนื้อหาเป็นภาษาอะไร
<meta http-equiv=”content-language” content=”th” />

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความสำคัญของ Meta Tag ตอนที่ 1

Meta Tag คือ คำสั่งที่ใช้บอกข้อมูลที่เราประกาศเอาไว้ใน Code บนส่วนหัว <head> </head> ของเอกสาร HTML โดยข้อมูลในส่วนนี้จะถูก Robot ประมวลผลก่อนจะทำการเก็บข้อมูลเว็บเพจ โดยคำสั่ง Meta Tag จะแจ้งรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจ เช่น Title , Keyword, Description, Author เป็นต้น โดย Search Engine จะทำการเก็บข้อมูลในส่วนนี้นำเอาไปประมวลผลการจัดเก็บเว็บไซต์ และอ้างอิงเว็บไซต์ของเรา การใช้งานคำสั่ง Meta Tag รูปแบบการเขียนนั้นจะมีรูปแบบการเขียนหลายแบบ ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างรูปแบบการเขียน โดยมีรายละเอียด ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี้


เรามาดูคำสั่งแรกกันเลยครับ Meta Tag ที่ใช้กำหนด หรือระบุชนิดตัวอักษร ว่าจะให้แสดงผลด้วยชุดอักษรแบบใดกับ Browser

<meta http-equiv="content-type" content="text/html; charset=tis-620">

Meta Tag นี้จะบอกชุดชนิดตัวอักษรที่ให้ใช้ชุดตัวอักษร Tis-620 สำหรับเปิดเว็บเพจของเรา

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำสั่งไฟล์ robot.txt

ต่อไปเรามาดูคำสั่งในไฟล์ robot.txt กัน คำสั่งแรก User-agent: คือคำสั่งที่เราจะให้ Robot ของค่ายไหนเข้ามาเก็บข้อมูลได้บ้าง เช่น User-agent: Googlebot หรือจะให้เฉพาะ Robot บางตัวเข้ามาเก็บข้อมูล เช่น User-agent: Googlebot User-agent: Scooter หรือให้ Robot ทุกตัวเข้ามาเก็บข้อมูลก็ User-agent:*
ต่อไปมาดูคำสั่ง Disallow: คือคำสั่งที่จะบอกให้ Robot ว่าไม่อนุญาตให้เก็บไฟล์หรือข้อมูลไหนบ้าง เช่น Disallow: / ตามด้วยเครื่องหมาย / ก็คือบอกให้ Robot รู้ว่าไม่อนุญาตให้เก็บไฟล์ทุกไฟล์ในเว็บของเราเลย หรือ Disallow: เว้นว่างคำสั่งนี้คืออนุญาตให้ Robot เก็บไฟล์ข้อมูลได้ทุกไฟล์ เป็นต้น

เรามาลองดูตัวอย่าง ในตัวอย่างนี้คือให้ Robot Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลได้แต่ยกเว้น Folder templates 3rdparty และ libs เป็นต้น

User-agent: *
Disallow: /templates/
Disallow: /3rdparty/
Disallow: /libs/

เรามาลองดูตัวอย่างอีกซักตัวอย่าง ในตัวอย่างนี้คือให้อนุญาตให้เฉพาะ Robot Google สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลได้ Search Engine ตัวอื่นๆไม่อนุญาตให้เก็บข้อมูล

User-agent: Google
Disallow:
User-agent: *
Disallow: /

ลองประยุกต์ใช้ดูตามรูปแบบการใช้งานของเว็บเรานะครับ แต่ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจหรือเบื่อที่จะเขียน หรือพิมพ์เอง แนะนำเว็บที่ Gen Code robot.txt ให้เราตามลิงค์เลยครับ Gen Robot ส่วนวิธีการใช้งานก็ง่ายๆครับ ลองศึกษาดูไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Valentine's Day

วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของ พวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (Courtly Love) แผ่ขยาย การส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์ มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่ม สาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย
  • กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"
  • กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์
  • กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน
  • กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน

ประวัติท่านนักบุญวาเลนไทน์

เซนต์วาเลนไทน์หรือนักบุญวาเลนไทน์นั้นเป็นพระที่อยู่ในกรุงโรมระหว่างศตวรรษที่ 3 ในเวลานั้นกรุงโรมถูกปกครองโดยจักรพรรดิที่ชื่อว่า "คลอดิอุส" ซึ่งมีนิสัยชอบข่มเหงผู้อื่น ทำให้ไม่เป็นที่รักของประชาชนเท่าใดนัก จักรพรรดิคลอดิอุสต้องการสร้างกองทัพอันยิ่งใหญ่และหวังให้ชายชาวโรมันทั้งหลายอาสาสมัครเข้ามาเป็นทหารในการสงคราม แต่ก็ไม่มีชายคนใดจะกระทำตามนั้น จักรพรรดิคลอดิอุสจึงออกกฏหมายห้ามให้มีการแต่งงานหรืองานหมั้นใดๆ เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนไม่พอใจรวมทั้งนักบุญวาเลนไทน์เองด้วย

ในเวลาต่อมานักบุญวาเลนไทน์ได้จัดการแต่งงานให้กับคู่หญิงสาวหลายคู่ขึ้นอย่างลับๆ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศการใช้กฏหมายห้ามแต่งงานแล้วก็ตาม นักบุญวาเลนไทน์ยังคงรักที่จะทำพิธีเหล่านี้ โดยภายในงานนั้นจะมีเพียงเจ้าบ่าว เจ้าสาว และท่านนักบุญเท่านั้น พวกเขาจะกระซิบคำสาบานและคำอธิษฐานต่อกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังเสียงการเดินตรวจตราของเหล่าทหารด้วย แต่แล้วคืนหนึ่ง ในขณะที่กำลังทำพิธีแต่งงานอย่างลับๆอยู่นั้นเอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์เกิดได้ยินเสียงผีเท้าของทหาร แต่โชคดีที่คู่บ่าวสาวนั้นหนีออกไปจากโบสถ์ได้ทัน ในที่สุดนักบุญวาเลนไทน์จึงถูกจับขังคุกและถูกทรมานอย่างแสนสาหัส ท่านพยายามให้กำลังใจตัวเองทุกๆ วัน และแล้ววันหนึ่งสิ่งวิเศษก็เกิดขึ้น เด็กหนุ่มสาวหลายคนมาที่คุกเพื่อจะมาเยี่ยมท่านนักบุญ พวกเขาโยนดอกไม้และกระดาษซึ่งเขียนข้อความต่างๆ เข้าไปทางช่องหน้าต่างของคุก พวกเขาต้องการให้นักบุญวาเลนไทน์รู้ว่า พวกเขาเองก็มีความเชื่อและศรัทธาในความรักด้วยเช่นกัน

หนึ่งในเด็กสาวเหล่านั้น เป็นลูกสาวของผู้คุม ซึ่งพ่อของเธอได้อนุญาติให้เธอเข้าไปเยี่ยมนักบุญ วาเลนไทน์ได้ในคุก บางครั้งพวกเขาจะนั่งคุยกันนานนับชั่วโมง หล่อนช่วยให้กำลังใจท่านนักบุญ และเห็นด้วยกับการที่ท่านปฏิเสธกฏหมายห้ามการแต่งงานนั้น อีกทั้งยังสนับสนุนการแต่งงานอย่างลับๆ ของท่านนักบุญอีกด้วย ในวันที่นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตนั้น ท่านได้เขียนจดหมายไว้ฉบับนึงเพื่อเป็นการขอบคุณในมิตรภาพและความจงรักภักดีของหญิงสาวผู้นั้น แล้วท่านนักบุญก็ลงท้ายจดหมายฉบับนั้นว่า "Love From Your Valentine" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีประเพณีการแลกเปลี่ยนจดหมายรักซึ่งกันและกันในวันวาเลนไทน์ โดยจะเขียนขึ้นในวันที่นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิต คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีคริสต์ศักราช 270 และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านนักบุญวาเลนไทน์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของวันนี้คือ การมอบความรักและมิตรภาพให้แก่กันและกัน และทุก ๆ ครั้งที่ผู้คนต่างนึกถึงจักรพรรดิคลอดิอุส เขาก็จะจำได้ถึงวิธีการที่คลอดิอุสพยายามจะมาแทนที่หนทางของความรัก แล้วก็จะพากันหัวเราะ เพราะว่าพวกเขาต่างรู้ดีว่าความรักนั้นไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนหรือแทนที่ได้เลย

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

robot.txt คือ ?


robot.txt คือ คือไฟล์ที่เอาไว้กำหนดทิศทางการทำงานของ Bot ในการ Index ข้อมูลของเว็บไซต์ของเรา กล่าวคือหลังจากที่เราได้ทำโครงสร้างของเว็บไซต์ของเราเสร็จแล้ว แต่มีข้อมูลบางส่วนที่ไม่ต้องการจะเผยแพร่ ไม่ต้องการที่จะให้ Bot เข้ามาทำการเก็บข้อมูล เราจะสร้างไฟล์ robot.txt ขึ้นมาเพื่อกำหนดการทำงานให้ Bot ที่จะมาเก็บข้อมูลใน Web Site ของเรา ว่าสามารถที่จะเข้าไปเก็บข้อมูลในส่วนไหนได้บ้าง และเป็น Bot ของ Search Engine ไหนที่จะเข้าไปได้ ในส่วนของไฟล์ robot.txt นั้นจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนนอกสุดของ Root Directory เช่น http://www.yourdomain.com/robot.txt

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนะนำ 3 ผู้ให้บริการ Ping Website ชื่อดัง




แนะนำเว็บไซต์ที่ให้บริการ Free Ping เพื่อเรียกบอทให้มา Claw เว็บ และ บล็อก ของเราเพื่อ Index ลงฐานข้อมูลของ Search Engine เวลาที่มีการ Update ข้อมูล Website หรือ Update ข้อมูล Blog ของเรา เลือกใช้บริการได้เลยตาม Link ทางด้านล่างครับแนะนำ 3 ผู้ให้บริการนี้ที่เป็น Free Ping ที่เป็นที่นิยมที่สุดครับ

http://pingler.com
http://pingoat.com
http://pingomatic.com

ข้อแนะนำ ไม่ควรทำการ Ping บ่อยจนเกินไปนะครับ อาจจะเว้นเป็นระยะๆบ้าง ไม่งั้นอาจจะโดนแบน จาก Search Engine ได้นะครับ

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Ping คือ ?

วันนี้เรามาพูดกันถึงเรื่อง Ping กัน ซึ่ง Ping เป็นเครื่องมือ หรือ Tool อีกอย่างหนึ่งในการทำ SEO ที่ช่วยบอกให้ Bot เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ หรือ Blog ของเราเมื่อมีการ Update ข้อมูลของเรานั่นเอง จริงๆแล้ว ระบบ Ping มันก็ไม่เชิงว่าเป็นระบบเรียก Bot ซะทีเดียว แต่ลักษณะในการทำงานของมันคล้ายอย่างนั้น เดิมที่ระบบ Ping ใช้กับระบบ Feed เนื่องจากระบบ Feed เป็นระบบที่ให้ User Feed Farm ได้ Subscribe เจ้า RSS ไว้ แล้ว ตัวของ Feed เองนั้น เมื่อมี การอัพเดท มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ผู้ได้รับ Feed ต้องได้รับข้อมูลข่าวสารนั้น ทันที หรือเร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเว็บ ทำให้เว็บที่มี Feed พวกนี้เนี่ย โดยเฉพาะ Blog จำเป็นจะต้องมีระบบที่มันสื่อสารกันรู้เรื่องทันทีที่มีการ Update Add Edit เกิดขึ้น ระบบ Ping จึงมีหน้าที่ในส่วนที่ทำให้ User Feed Farm ทราบว่า เนื้อหาได้มีการ Update ขึ้นมาครับ และแน่นอนว่า อย่าง Google และ Yahoo ต่างก็รองรับ Feed ว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการใช้งานที่มีแนวโน้มสูงขึั้น ทำให้ Google และ Yahoo เองก็มี Bot ต่างหาก สำหรับ RSS Feed เหล่านี้โดยเฉพาะ ตรงนี้มันช่วยให้สำหรับคนทำ SEO อยู่ที่ว่า ทันทีที่เรา Update อะไรก็ตาม Bot สามารถวิ่งเข้ามาเก็บ Feed ไปก่อน ทันทีครับ ส่วนการ Ping นั้นจะ Ping กี่เว็บก็ได้ แต่ไม่ควร Ping ซ้ำๆกัน เพราะอาจจะโดน Blacklist ต้องระวัง!! เหมือนกัน ส่วน การ Ping แล้วมันจะเพิ่มลิ้งค์ให้ันั้น มันจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียเท่าไหร่ครับ เพราะเมื่อ Ping ไปแล้ว Bot ต่างๆ มาเก็บข้อมูลไปก็จริงๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจบตรงนั้นเราได้ Index หน้านั้นเพิ่มขึ้นมามันยังมี Process ขั้นอื่นๆอีก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

SEO Off Page Optimization

การปรับแต่งเว็บเกี่ยวกับปัจจัยภายนอก ได้แก่ เรื่องของการโปรโมทประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ Promote Website และการสร้างลิงค์เข้ามายังเว็บไซต์ (Link Building) การแลกลิงค์กับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน (Link Exchange)
* การแนะนำเว็บให้ Search Engine รู้จัก (Search Engine Submission)
* การทำ Search Engine Site Map (Google, Yahoo, Bing, Ask)
* อายุของโดเมน (Age of Domain)
* การสร้างลิงค์เข้ามายังเว็บไซต์ (Backlink)
* โปรโมทเว็บในเว็บไซต์อื่น (Web Directory Submission)
* โปรโมทบทความหรือเนื้อหา (Article Submission /Social Bookmark)
* แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่น (Reciprocal Links)
* การใช้งานของผู้ใช้ (Behavior of Vistors)

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

SEO On Page Optimization

การปรับแต่งเว็บไซต์เกี่ยวกับปัจจัยภายใน หรือส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บไซต์ ได้แก่ การวางโครงสร้างเว็บไซต์ การเขียน Code ในหน้า เว็บเพจ การเขียนเนื้อหาให้เหมาะกับ Search Engine และการกระจาย Keyword ในส่วนต่างๆ
1. ในส่วนของการตั้งชื่อ Title ของหน้าเว็บว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร และไม่ซ้ำกันในแต่ละหน้า (Title Tag)
2. ใช้ Meta keyword และ description ข้อความอธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Meta Tag)
3. การปรับปรุงโครงสร้าง URL ของเว็บ (การกำหนดรูปแบบ URL, การตั้งชื่อ Directory, Files)
4. การทำระบบนำทางในเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย แผนผังเว็บไซต์ สำหรับ Human และ Robot
5. การเขียน เรียบเรียงเนื้อหาให้เหมาะกับการทำ SEO
6. การทำลิงค์เชื่อมโยงเนื้อหา Inbound-Links
7. การใช้ Tag หัวข้อให้เหมาะสม (Heading Tag)
8. การเน้นคำ (Bold/Strong Tags) ตัวเอียง (Italic)
9. การใช้ลิสต์รายการ
10. การใช้รูปภาพอย่างเหมาะสม ไม่ลืมที่จะใส่คำอธิบาย "Alt", "Title"
11. การป้องกันข้อมูลในเว็บไซต์ด้วย robots.txt
12. Outbound-Links ลิงค์เชื่อมโยงออกภายนอกในจำนวนที่เหมาะสม
13. Density of Keywords ความถี่ หรือความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

จะหลุดจาก Google Sandbox อย่างไร ?

ก็อยากที่ทราบดีกันว่า Google ทำระบบนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะป้องกัน และกำจัดเว็บที่เข้าข่าย Spam เว็บเหล่านี้ทำอันดับสูงอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการของ Black Hat SEO โดยใช้วิธีการซื้อ Link จากเว็บที่มี PR สูงจำนวนมาก และโดยจากการปั่น Link ที่มาจากการ Spam ตามเว็บไซต์ต่างๆ ในการดันอันดับให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นหากต้องการที่จะทำให้เว็บหลุดออกจาก Google Sandbox ให้ได้เร็วที่สุดก็คือทำเว็บให้ดีที่สุด มีคุณภาพที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ Update เว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง โดยเขียนบทความ หรือเนื้อหาที่มีคุณภาพขึ้นเอง (Unique Content) โดยไม่ซ้ำกัน (Duplicate Content) สร้าง Link Popularity ที่มีคุณภาพจาก Web Site ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน และมี PR สูง โดยทำให้เป็นธรรมชาติมากที่่สุด เพราะการทำ SEO จำเป็นต้องใช้เวลา เพียงเท่านี้ก็จะหลุดจาก Google Sandbox ภายในระยะเวลาไม่นานครับ

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีหลีกเลี่ยงเว็บไซต์จาก Google Sandbox

1.ถ้าคุณคิดจะทำการจดทะเบียนโดเมนเนม และทำ Website ก็ควรจะรีบจดทะเบียนทิ้งเอาไว้ และก่อนที่จะทำเว็บไซต์เสร็จสมบูรณ์ อาจจะทำไว้ไม่กี่หน้า ถึงแม้ยังไม่มีเนื้อหามากก็ไม่เป็นไรถ้า Google ทำการ Index เว็บไซต์แล้วค่อย เพิ่มเนื้อหาของเว็บไซต์ ลงไปทีหลังก็ได้
2.หลังจาก Index แล้วก็รอให้ผ่านช่วง Sandbox Effect ซึ่งอาจใช้เวลา 4 - 6 เดือน
3.สร้างลิ้งเว็บไซต์ ให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ โดยไม่โตเร็วเกินไปจนผิดสังเกต ค่อยเป็นค่อยไป
4.Promote โดยให้อ้าง Link จาก เว็บที่ (PR) Pagerank สูง และมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน

จะติด Sandbox Effect ตอนไหน ?

เราจะติดตอนที่ Googlebot เข้ามาพบเว็บของเราเป็นครั้งแรก ระบบ Filter Sandbox Effect จะทำงานทันที ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการจดโดเมน เราอาจจะจดมานานแล้วก็ได้ หากไม่พบเว็บไซต์ท่านก็ยังถือว่า ยังไม่มีเว็บหนะครับจะไม่มีการติด Sandbox Effect เพราะท่านยังไม่มีเว็บ Online แต่เมื่อใดที่เรา Online แล้ว (เปิดเว็บไซต์บน Internet) กล่องทรายจะเข้ามาควบคุมสถานการณ์ทันที Sandbox Effect

เครดิต jongjarern

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

Sandbox Effect คือ ?

Sandbox Effect คือ ตัวกรองเว็บไซต์ หรือ ระบบการกรองข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ คล้าย ๆ กับ Web Filter ที่ใช้กรองเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มุ่งหวังในการทำให้ติดอันดับใน Search Engine อย่าง Google
กระบวนการต่าง ๆ ของการกรองข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดการพัฒนาเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เพราะว่าเว็บใหม่ต่าง ๆ หรือ เว็บที่เกิดใหม่ต่าง ๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยหลักการของ Sandbox Effect คือ จะทำการกักเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกิดใหม่จนกว่าจะมั่นใจว่ามีความน่าเชื่อถือแล้ว ตามกฏเกณฑ์ก็คือย่างน้อย 4 - 6 เดือน เว้นแต่เว็บไซต์หรือ Blog นั้น ๆ ได้รับความน่าเชื่อถือมาก ๆ และ มีเว็บที่มีความน่าเชื่อถือลิงค์มาหาเป็นจำนวนมากพอสมควร

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

Google Sandbox คือ ?

Google Sandbox เป็นฟิลเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่ทาง Google พัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดถึงระดับ ของความยากง่าย ในการติดอันดับดีๆ ในเสิร์ชเอนจิ้น ของเว็บไซต์ใหม่ๆ เมื่อใช้คีย์เวิร์ดที่มี อัตราการแข่งขันสูง ซึ่ง Sandbox จะช่วยให้ Google ป้องกันการ Optimization เว็บไซต์ที่เพิ่ง จดทะเบียนโดเมนเนม ใหม่ๆ ไม่ให้ติดอันดับดี เร็วเกินไป จัดทำขึ้นเพื่อทำการคัดกรองเว็บไซต์ด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นจำนวนมากในเวลา อันสั้น ซึ่งปัญหาหลักที่เขาได้ตระหนักถึงคือ มีเว็บจำนวนหนึ่งเป็นเว็บด้อยคุณภาพ หรืออาจจะไร้คุณภาพเลย เว็บจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Spam หากทาง Google ปล่อยให้เว็บเหล่านี้อยู่ในฐานข้อมูลของเขา ก็เหมือนกับเก็บขยะเอาไว้ในบ้าน
Google Sandbox คือช่วงเวลาทดลองว่าเว็บไซต์ มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ เนื่องจาก Google ต้องการไม่ให้คนที่เพิ่งจะทำ SEO มีความใจร้อนมากเกินไป เพราะหลายคน ต้องการ เห็นเว็บไซต์ของตัวเองติดอันดับเร็วๆ เลยทำการซื้อลิ้งค์ จากเว็บไซต์ที่มี PageRank สูงๆ เยอะๆ แต่เมื่อเว็บไม่ติดอันดับ ก็ล้มเลิกความตั้งใจไป ด้วยเหตุนี้ Google จึงหาวิธีโดยการให้เว็บใหม่ๆ ติดอันดับได้ยาก อาจจะใช้เวลาประมาณ 4 - 6 เดือน กว่าที่ Google จะปล่อยให้หลุดจาก Sandbox ไปได้

เครดิต template-stores.com

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเภทของ Link Popularity

กฏของ SEO ได้จำแนกรูปแบบของ Link Popularity เป็นหลากหลายประเภท แต่ที่มีประโยชน์ที่สุดจะเพียง 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

One-Way Link
1-Way Link เป็นการแจก Links ไปทางเดียวโดยไม่ต้องการ Links กลับมาหาเรา เช่น เว็บไซต์ ความรู้ SEO ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ เช่าทรัส แต่ว่าเว็บไซต์ เช่าทรัส ไม่ได้ทำ Links ให้กับมาที่เว็บ ความรู้ SEO

Two-Way Links
2-Way Links การพ่วง Links แบบสองทาง เช่น เว็บไซต์ ความรู้ SEO ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ เช่าทรัส และ เว็บไซต์ เช่าทรัส ได้ Links กลับไปหาเว็บไซต์ ความรู้ SEO คืน

Three-Way Links
3-Way Links แน่นอน Links สามเศร้า เช่น เว็บไซต์ ความรู้ SEO ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ เช่าทรัส แล้วเว็บไซต์ เช่าทรัส ก็ส่งให้เว็บไซต์ ทาสีคอนโด ก็ได้ Link กลับไปหาเว็บไซต์ ความรู้ SEO

ซึ่งการทำ One-Way Link และ Three-Way Links ตามตัวอย่างข้างต้น จะส่งผลดีให้กับเว็บไซต์ เช่าทรัส ในฐานะเว็บคนกลาง มากกว่าการทำ Two-Way Links ในมุมมองของ SEO ซึ่งตรงๆเลยว่า เราควรเป็นคนกลางที่จะมีคน Links เข้ามาและก็จ่ายให้ Link ออกไปอ้อมๆกลับคืน

ประโยชน์ของ Link Popularity ก็ มีอยู่ไม่มากครับ การที่มี Links เข้าหาเว็บไซต์มากๆ เป็นหลายๆ Links ทำให้โอกาสที่ Robot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ เรามากขึ้นมีมาก และนอกจากนี้ก็ยัง เพิ่มโอกาส ของผู้ที่สนใจผ่าน Links เข้ามาหาดูข้อมูลทำให้เกิดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น อีกทั้งจำนวน Links ที่เชิญคนเข้ามาชมเว็บไซต์เราเยอะๆนั้น ก็ทำให้ความน่าเชื่อถือเว็บไซต์ เราดีขึ้นอีกต่างหาก

เครดิต daydev

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Link Popularity สำคัญอย่างไร ?

หากเว็บไซต์ของเรามี Link Popularity ที่สูง จะทำให้เว็บไซต์ค้นหาเจอโดยง่าย เพิ่มโอกาสให้เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ต่างๆ เข้ามาสำรวจเว็บไซต์เราบ่อยขึ้น เพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของเรามีจำนวนผู้เยี่ยมชมเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์อีกด้วย ปัจจุบันเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ให้ความสำคัญกับ Link Popularity เป็นอย่างมาก

เครดิต truehits.net