G+

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเตรียมพร้อมเผชิญกับ Google Panda Algorithm ตอนที่ 1

เป็น ความรู้ SEO ตอนต่อจาก บทความ SEO ที่แล้วนะครับ เนื่องจากหลังที่มีการ Update Algorithm ตัวใหม่ที่มีรหัส หรือ Code เก๋ๆที่เรียกว่า "Panda" ตามชื่อวิศวกรของทีมคนหนึ่ง นั้นทำให้หลายเว็บไซต์โดนผลกระทบเข้าไปเต็มๆ โดยเฉพาะบรรดาเว็บไซต์ Article ชื่อดังหลายราย และเหล่าบรรดาผู้ใช้ Script ในการปั่นเพื่อดึง Content ทั้งหลาย บ้างก็โดนลดอันดับลงจากที่เคยอันดับดีๆก็ค่อยๆหายไป หรือหนักๆหน่อยก็โดนแบน หรือ Deindex ไปเลย ตามที่เราเข้าใจกันดีแล้วจาก บทความ SEO ที่ผ่านมาว่า จุดประสงค์หลักๆที่ออก Update ตัวใหม่นี้ก็เพื่อกำจัดเว็บที่ไม่มีคุณภาพ (Low Quality Site) หรือเว็บที่มีเนื้อหาเป็น Content Farm ทั้งหลาย จากการวิเคราะห์ศึกษา และเข้าใจในระบบ Panda Algorithm ให้มากขึ้นเราก็สามารถหามาตรการเอาตัวรอด และรับมือกับ Algorithm ตัวใหม่นี้ได้ ก็คือ เราต้องทำให้เว็บเรามีคุณภาพที่สุด (High Quality Site) ทั้งในสายตาของระบบ และผู้ใช้งานเครื่องมือค้นหา และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ เนื้อหา หรือ Content นี้เอง โดยที่เนื้อหาต้องใหม่หรือ Fresh Content ต้องเขียนขึ้นเอง ค้นหาข้อมูลเอง โดยเนื้อหาไม่ซ้ำ หรือคัดลอกเว็บอื่นมา หรือที่เรียกกันว่า Duplicate Content นั้นเอง

Google Panda Algorithm

Google Panda Algorithm เป็น Algorithm ที่ถูกปรับปรุงใหม่ล่าสุดของทีมงาน Google โดยจุดประสงค์หลักๆของการพัฒนาอัลกอริทึ่ม ตัวนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อมาตรการการจัดการกับ สแปมแบบใหม่หรือ Content Farm ที่จ้างคนมาเขียนเนื้อหา "คุณภาพต่ำ" แบบเยอะๆ เร็วๆ จากนั้นทำ SEO เพื่อให้ติดอันดับกูเกิลสูงๆ และทำการวิเคราะห์เว็บไซต์ที่เข้าข่าย เว็บที่ไม่มีคุณภาพ หรือเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ (Low Quality Site) ที่ทำการก็อปปี้เนื้อหาข้อมูลมากจากเว็บไซต์อื่นๆ (Duplicate Content) ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานที่ทำการค้นหาข้อมูล แต่ในขณะเดียวกัน เว็บไซต์ที่มีคุณภาพจริงๆ (High Quality Site) ที่เป็นเจ้าของเนื้อ และข้อมูล ที่ตั้งใจและมีประโยชน์จริงๆ จะทำให้ติดอันดับผลการค้นหาที่ได้ดีขึ้น เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง Algorithm ตัวใหม่ที่ออกมานี้มีผลกระทบประมาณ 11.8 % ของผลการค้นหาของเว็บไซต์โดยรวมทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

Domain Age อายุโดเมน กับ SEO

อายุโดเมน (Domain Age) นั้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในเรื่องของการทำ SEO ในการให้คะแนน ถูกจัดอันดับ สังเกตได้จาก โดเมนเก่า ที่มีอายุมาก มักจะทำอันดับได้ดีและค่อนข้างนิ่งกว่า โดเมนใหม่ หรือถ้ายิ่งอายุของ โดเมน มีมากโอกาสที่จะอยู่ อันดับสูงก็มีมากกว่าเว็บไซต์ที่มีอายุ โดเมน น้อยกว่า เพราะว่า Search Engine อย่าง Google ได้นำเอาเรื่องของ อายุโดเมน มาเป็นตัวแปรหนึ่งที่ใช้ในการจัด อันดับเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามถ้าต้องการใช้ โดเมนเก่า ใน การทำ SEO ก็ควรที่จะต้องตรวจสอบประวัิติ โดเมน ให้ดีด้วยเช่นกันครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนะนำวิธีใช้งาน Free Monitor For Google ตรวจสอบอันดับ

โปรแกรม Free Monitor For Google เป็น Free SEO Software อีกตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับ Monitor หรือตรวจสอบอันดับ และ Ranking ใน Google ในหลายๆ Keyword วิธีใช้งานค่อนข้างง่ายมากๆและไม่กินทรัพยากรเครื่องมากนัก จากค่าย Cleverstat ที่สำคัญสามารถตรวจสอบ Google ประเทศไทยได้อีกด้วย หลังจากที่เรา Download ตัวโปรแกรมและ Install โปรแกรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มต้นใช้งานกันได้เลยโดย Click ที่ Icon โปรแกรม คลิ๊กที่เครื่องหมาย + หรือเรียกที่ว่าปุ่ม Add URL หลังจากนั้นทำการเพิ่ม Site URL ของเราลงไปและคลิ๊กที่ปุ่ม OK จะมี Dialog Project Properties ขึ้นมาในที่นี้เราก็จะเพิ่ม Keyword (ต.ย ความรู้ SEO) ที่เราจะทำการตรวจสอบอันดับลงไปแล้วกดปุ่ม Add จะเพิ่มหลายๆ Keyword ก็ได้นะครับ หลังจากนั้นคลิ๊ก OK ต่อไปก็จะเป็นการตรวจสอบอันดับของเราโดยการคลิ๊กที่ Icon แว่นขยายหรือปุ่ม Search นั้นเองจากนั้นรอซักพักโปรแกรมจะทำการประมวลผล และจะแสดงตำแหน่ง หรือ Position ในหน้าต่าง Checklist Resultsในปัจจุบันของเราว่าอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ ซึ่งข้อดีอีกข้อหนึ่งของตัวโปรแกรมคือ สามารถเปรียบเทียบตำแหน่งที่ดีที่สุดและตำแหน่งปัจจุบันได้อีกด้วย ว่าอันดับดีขึ้นหรือแย่ลง ทั้งนี้ยังมีคำสั่ง Options ไว้ปรับแต่งส่วนต่างๆ ค่า Results ด้วยว่าจะให้แสดงเท่าไหร่กี่ลำดับ สูงสุดถึง 200 และต่ำสุดที่ 10 ครับ (แนะนำให้ปรับเป็น 10 เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบครับ) เป็นอย่างไรกันบ้างลองไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ นับว่าเป็นโปรแกรมที่มีการใช้งานได้ง่ายมากๆ และที่สำคัญฟรีไม่เสียตังค์ครับ Free Monitor For Google

ตัวแปรอะไรบ้างที่เพิ่มค่า TrustRank

มาว่ากันต่อเนื้อหาจากบทความที่แล้วนะครับ ในเรื่องของ Turstrank หรือค่าความน่าเชื่อถือ ว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ดูตามรูปภาพประกอบด้วยนะครับ จะได้เข้าใจได้มาขึ้น อย่างแรก SSL Certificate หรือ Secure Socket Layer Protocol ก็คือ เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority) เครื่องหมาย เหล่านี้ จะเป็นการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย SSL ซึ่ง CA เป็นผู้อนุมัติ SSL Certificate ให้แก่เว็บไซต์ เพื่อยืนยัน การมีตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์และเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ ของการเข้ารหัสข้อมูลผ่าน SSL ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ให้กับผู้ใช้งานใน การรับ - ส่งข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ บริการนี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ Ecommerce (ขายของออนไลน์) หรือเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญในการรับ ส่งข้อมูลสูง อย่างที่สอง "Hacker Safe" Services and Logo มี Logo ของผู้ให้บริการ หรือองค์กรที่เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภับ ป้องกันข้อมูลต่างๆในเว็บไซต์ อย่างที่สาม มีการจดทะเบียน Domain Name ระยะยาวถึง 10 ปี อย่างที่สี่ มีหน้าเพจที่มีแจ้งรายละเอียดข้อมูลการติดต่อ หรือ Contact Us เช่น เลขที่อยู่ ถนน จังหวัด ประเทศ รหัสไปรษณีย์ อย่างที่ห้า มีหน้าเพจที่แจ้งรายละอียด นโยบายความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Policy ที่ชัดเจน อย่างที่หก มี Links มาจากการสมัครเป็นสมาชิกของ เว็บไซต์ Better Business Bureau, Chamber of Commerce เป็นต้น แต่ละข้อโหดๆทั้งนั้นเลยครับ

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

TrustRank คืออะไร ?

เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วในเหล่านักทำ SEO หรือ Search Engine Optimizer ทั้งหลายสำหรับ PageRank ที่กูเกิลคิดค้นขึ้นมาสำหรับจัดระดับให้แต้มหน้าเพจหรือหน้าเว็บที่มีประสิทธิภาพ แต่หลังจากที่นำระบบ PageRank ออกมาใช้งานได้ซักพักนึงก็พบว่ามีข้อบกพร่องอยู่หลายแห่ง ทั้งในเรื่องของกลโกง PageRank ด้วยการจัดทำ Network Link ของตัวเองขึ้นมา แล้วจับเว็บที่มีอยู่ลิงค์กันเองเพื่อโอน หรือถ่ายเทคะแนน PageRank จึงทำให้ทางกูเกิลต้องคิดค้น และพัฒนาสร้าง TrustRank ขึ้นมา เพื่อปราบปรามกลุ่มบรรดานักทำ SEO สมองใสทั้งหลาย โดยแนวคิดของการให้ TrustRank นั้น จะทำโดยฐานรากที่ว่า เว็บที่มีประสิทธิภาพทั้งหลายจะไม่ยอมทำลิงค์ไปหาเว็บที่ไร้คุณภาพโดยเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ทางกูเกิลจึงทำการเลือกสรรเว็บไซต์ที่กูเกิลคิดว่ามีคุณภาพขึ้นมา เว็บไซต์ที่ได้รับการคัดเลือกจะมีค่า Trust Score ที่สูงมาก โดยเรียกเว็บไซต์เหล่านี้ว่า Seed Site สำหรับ Seed Site นั้นจะมีหน้าที่ส่งลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มค่า Trust Score ให้เว็บไซต์เหล่านั้น หากเว็บไซต์ใดได้รับลิงค์แบบ DoFollow Link จาก Seed Site แล้ว จะทำให้เว็บไซต์นั้นๆได้ค่า Trust Score สูงตามไปด้วย แต่หากเราทำลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่นๆบ่อย หรือมากเกินไป ค่า Trust Score ที่เราได้ ก็จะรั่วไหลออกไปหาเว็บอื่นๆด้วยเช่นกัน และในทำนองเดียวกัน หากเราได้ลิงค์จากเว็บไซต์ที่ได้รับค่า Trust Score จากเว็บ Seed site เราก็จะได้ Trust Score ด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่า TrustRank นั้นไม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเล่นๆแน่นอน มันจะถูกนำไปประมวลเพื่อจัดระดับการแสดงผลในกูเกิลด้วย และอาจจะมีน้ำแต้มคะแนนที่สูงขึ้นเรื่อยๆต่อไปในภายภาคหน้า สำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับคัดสรรให้เป็น Seed site จากกูเกิลนั้นเท่าที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ได้แก่ เว็บไดเรคทอรีอย่าง Dmoz.org และ Yahoo Directory ถ้าเทียบจำนวนรวมแล้วในโลกนี้มีเว็บเพียงไม่กี่แห่งที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Seed site

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

Link Wheel คืออะไร ?

Link Wheel คือ Backlink อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะการทำลิงค์เชื่อมโยงในรูปแบบ หรือโครงสร้างเป็นวงกลม ล้อมรอบเว็บไซต์หลัก  และส่งลิงค์ทั้งหมดยิงตรงกลับมายังเว็บไซต์หลัก เพื่อให้ Robots ของแต่ละ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูล  ไปตามรูปแบบ หรือโครงสร้างที่เราได้ออกแบบเอาไว้ โดยแต่ละเว็บที่ส่งลิงค์กลับมาควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องหรือใกล้เคียงกันกับเว็บไซต์หลัก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่าย  ซึ่งแนวทางในการทำ Link Wheel นั้นเป็นระบบของการทำ SEO อย่างง่ายๆ เบื้องต้น เพื่อดันคีย์เวิร์ดให้ติดอันดับได้รวดเร็ว

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

UIP คือ อะไร ?

วันนี้เรามาพูดถึงเรื่อง UIP คืออะไร กันดีกว่าเข้าใจว่ายังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ และอยากจะรู้ หรืออาจจะมีบางคนที่รู้แล้ว แต่อาจจะลืมไปแล้วก็ได้ วันนี้เลยถือโอกาสทบทวน หรืออธิบายสั้นๆง่ายครับ ว่า UIP ย่อมาจาก Unique IP หรือไม่ก็ UIP หมายความว่า ตัวบ่งชี้ปริมาณ หรือจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยการประมวลจาก IP Address ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่เหมือนกันในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น จำนวน IP Address ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่ซ้ำกันในเวลา วัน เดือน ปี ตามลำดับ ซึ่งจะได้จำนวนรวม หรือตัวเลข ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เช่น UIP รายวัน มีค่า 200 คือ ตัวเลข IP ของคนเข้าเยี่ยมชม หรือแวะเวียนมาดูเว็บไซต์ไม่ซํ้ากันในวันนี้ 200 คน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

Keyword Density คืออะไร ? ตอนที่ 2

ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการจำกัด % ของ Keyword Density เนื่องจาก การที่หน้าเวบของคุณมีความหนาแน่นมากๆ เหล่า Search Engine จะเพ่งเล็งเว็บของคุณเป็นพิเศษ เพราะนั่นถือว่าคุณกำลัง Spam Keyword เพื่อให้บอทอ่านมากเกินไปนั่นเอง ทั้งนี้ การคิด เปอร์เซ็นต์ Keyword นั้น ทุกๆ Search Engine จะไม่สนใจ พวก Stop Words และ Stop Phrases นะครับ Stop Words หรือ Stop Phrases คืออะไร ? ก็คือ คำที่ไม่เกี่ยวข้องในเนื้อหา ไม่มีความหมายซึ่งจะสามารถเป็น Keyword ได้ เช่นพวก a, is, the, so, that, this, are เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เราควรทราบก็คือ เครื่องมือวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ความหนาแน่นส่วนใหญ่ นั้น ไม่ฉลาดพอที่จะตัดพวก Stop Words เหล่านี้ทิ้งไป ในการคำนวณ Keyword Density ดังนั้นหมายความว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ Keyword Density ที่เราวิเคราะห์ได้จากเครื่องมือ กับ Search Engine จะมีค่าไม่เท่ากัน (%ที่ Search Engine คิดได้จะสูงกว่าพวกเครื่องมือวิเคราะห์เหล่านี้ เพราะมีตัวหารน้อยกว่า) ทีนี้คงเข้าใจเรื่องราวของ Keyword Density พอสมควรแล้วนะครับ ไปปรับแต่งกันได้เลย ส่วนตัวผมปรับประมาณ ไม่เกิน 7% เท่านั้นเองครับ แนะนำเครื่องมือช่วยตรวจสอบความหนาแน่นของ Keyword ครับ Keyword Checker

เครดิต Seosamutprakarn

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

Keyword Density คืออะไร ? ตอนที่ 1

Keyword Density คือความหนาแน่นของคำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ดของเว็บไซต์ ซึ่งจะส่งผลให้ Search Engine เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเราต้องการสื่ออะไร หรือเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร ยกตัวอย่างเช่น ผมทำเว็บขึ้นมาหนึ่งเว็บ ชื่อเว็บว่า ลูกหมา.com ซึ่งชื่อเว็บบอกอยู่แล้วว่าจะต้องทำเกี่ยวกับหมา หรือลูกหมา แต่ถ้าในเว็บไซต์ของผมดันไปพูดถึงแต่เรื่อง Google เรื่องการหาเงิน Amazon Adsense มันคงไม่ถูกต้องนัก ดังนั้นในเว็บไซต์ ลูกหมา.com นี้ควรมีคำว่าลูกหมาอยู่ในบทความต่างๆ พอสมควร แต่ว่าไอ้พอสมควรเนี่ยคือเท่าไรกันเล่า จริง ๆ การคิด Keyword Density นั้น เราสามารถพิจารณาได้ทั้งสองแบบเลยครับ คือ
1. Keyword Density ทั้งเว็บ
2. Keyword Density เฉพาะบทความ 1 บทความ หรือ Page หนึ่ง Page
สมการของ Keyword Density คือ (จำนวน Keyword ที่เราสนใจ / จำนวนคำทั้งหมด)x100
โดยเปอร์เซนต์ความหนาแน่นที่เหมาะสม เป็นดังนี้ครับ
1. เราสามารถใส่ Keyword ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะไม่ให้ Google แบน คือ ประมาณ 12 – 20 % (อันนี้หมายถึงเปอร์เซ็นต์ Keyword ทั้งหมดของทั้งเวบนะครับ) โดยคุณสามารถที่จะรู้ได้ว่า % Keyword ทั้งหมดของเวบคุณอยู่ที่เท่าไหร่ โดยลอง Search ใน GG ด้วยคำว่า Keyword Density Analyzer ดูนะครับ จะเวบไซต์มากมายที่สามารถคำนวณ % Keyword ของเวบไซต์ของคุณได้  (ใส่ URL ของเวบ)
2. ทีนี้พูดถึง % Keyword เฉพาะบทความ 1 บทความ หรือ Page หนึ่ง Page สามาถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้
2.1 กรณีเนื้อหาในหน้า Page นั้น มีคำมากเกิน 600 คำขึ้นไป ควรมี Keyword Density ไม่เกิน 10%
2.2 กรณีเนื้อหาในหน้า Page นั้น มีคำน้อยกว่า 600 คำ ควรมี Keyword Density ไม่เกิน 20 %
สาเหตุที่ต้องมี 2 กรณี คือ ในเนื้อหาสั้นๆ นั้นจะทำให้มีตัวหารน้อย ตัวเลขของความหนาแน่นก็จะมีมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง

เครดิต Seosamutprakarn

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

10 จุดสุดยอดในการใช้ Keyword ในการทำ SEO

การใช้ Keyword ในการทำ Search engine Optimization หลายคนที่เป็นมือใหม่ อาจจะไม่มั่นใจหรือใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นแนวทางให้สำหรับ ผู้ที่ยังไม่มั่นใจหรือยังไม่รู้ว่าจะใช้ยังไง ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่ามัวเสียเวลาครับเริ่มต้นกันเลยดีกว่า
1. ใช้ keyword ที่บริเวณ ชื่อหน้าเพจ (Title) ให้เราใส่ Keyword ที่เราต้องการจะใส่โดยให้น้ำหนักจากการเรียงจาก ซ้ายไปขวา ตัวอย่างการใช้งาน [title] keyword หลัก, keyword รอง, keyword อื่นๆ [/title] เป็นต้น
2. ใช้ keyword ที่บริเวณ ชื่อหัวข้อของเนื้อหา (Heading Tag) โดยการใช้ h1,h2,h3 เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน [h1] Keyword [/h1] หรือ [h2] Keyword [/h2] เป็นต้น
3. ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนแรก (First Content) ให้ใส่ Keyword ไว้ในตำแหน่ง 20 คำแรกโดยประมาณ ให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้ตัวอักษรลักษณะเอียงก็ได้ ตัวอย่างการใช้งาน [body][p] Keyword [/p][/body]
4. ใช้ keyword ที่บริเวณ ลิงค์เชื่อมโยงมาตรฐาน (Standard Text Link) คือการเชื่อมโยงในลักษณะ การใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword ผสมเข้าไปด้วย ตัวอย่างการใช้งาน [a href="http://www.yoursite.com"] Keyword [/a]
5. ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนสุดท้ายของหน้า (The Last Content) เพื่อเน้นย้ำ หรือใช้ในการสรุปเนื้อหา อาจจะใช้เป็นลักษณะตัวเอียงหรือหนาก็ได้ครับ ตัวอย่างการใช้งาน [p] Keyword [/p] [/body]
6. ใช้ keyword ที่บริเวณ เมนูเลื่อนลง (Drop Down Menu) Drop Down Menu นี้เป็นที่ซ่อน Keyword ที่ดีอีกที่ที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ ตัวอย่างการใช้งาน [form] [option] Keyword [/option] [/form]
7. ใช้ keyword ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ (Folder Name, File Name) วิธีนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจพอสมควรครับ กับการทดลองใช้ในหลายๆเว็บที่ผมลอง หากต้องใช้ Keyword มากกว่า 1 พยางค์ ควรใช้เครื่องหมาย "-" เป็นตัวคั่นกลาง ตัวอย่างการใช้งาน /Keyword/Keword.html,Keyword.jpg หรือ Keyword1-Keyword2.html
8. ใช้ keyword ที่บริเวณ คำอธิบายรูปภาพ (Images Alt Tag) การ ใช้ Tag Alt เข้าช่วยนั้นเพราะว่า Serach Engine นั้นไม่รู้จักรูปภาพเราสามารถบอก Search Engine รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพของอะไรได้โดยใช้ Tag Alt นี้เข้าช่วย ตัวอย่างการใช้งาน [img src="images address" alt="Keyword"]
9. ใช้ keyword ที่บริเวณคำอธิบาย ลิงค์ (Text Link Title) การใช้ Text Link Title นั้นคล้ายการใช้ Tag Alt เพียงแต่ Tag นี้ใช้อธิบาย Link ตัวอย่างการใช้งาน [a href="http://www.yoursite.com" title="Keyword"]Keyword [/a]
10. ใช้ Keyword จด Domain name ด้วย Keyword (Domain Name Register) การใช้ Keyword หลักของเว็บในการจด Domain Name นั้นหากทำได้ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ

เครดิต ThaiSeo

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของ Meta Tag ตอนที่ 3

มาต่อกันเลยครับกับ Meta Revisit-After Tag ที่ใช้สำหรับบอกกับ Robot ของ Search Engine ว่าให้มาเก็บข้อมูลอีกทีในอีกกี่วัน เหมาะสำหรับเว็บที่มีการอัพเดทข้อมูลไม่บ่อย ตัวเลขเราสามารถที่จะระบุได้ตามที่เราต้องการครับ
<meta name=”revisit-after” content=”7 days” />
Meta Tag ที่ใช้สำหรับบอกเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจนี้ ใส่ชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างลงไป
<meta name="generator" content="Dreamweaver">
Meta Tag ที่ใช้สำหรับสั่งให้ Refresh หน้าเว็บเพจที่แสดงผลอยู่อัตโนมัติ เลข 3 คือ จำนวนวินาทีที่ต้องการให้ Refresh index.html คือใส่ข้อมูลหน้าีที่ต้องการให้ Refresh
<meta http-equiv="refresh" content="3; url=index.html">
Meta Tag สำหรับสั่งให้ Re-direct หน้าเว็บเพจอัตโนมัติ Redirect คือการให้เปลี่ยนหน้าเว็บเพจที่แสดงผลอยู่ ไปแสดงผลอีกหน้าที่เราตั้งไว้โดยอัตโนมัติ เลข 5 คือจำนวนวินาทีที่จะให้แสดงหน้าแรกก่อน 5 วินาทีจึงจะเปลี่ยนไปแสดงอีกหน้าที่เราตั้งไว้ Url คือเว็บไซต์ที่เราต้องการให้ Re-direct ไป
<meta http-equiv="refresh" content="5;url=http://www.pookpligg.com">
Meta Tag สำหรับสั่งไม่ให้ Robot ของ Search Engine มาเก็บหน้าที่แสดงผล
<meta name="robots" content="noindex,nofollow">