G+

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

จะหลุดจาก Google Sandbox อย่างไร ?

ก็อยากที่ทราบดีกันว่า Google ทำระบบนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะป้องกัน และกำจัดเว็บที่เข้าข่าย Spam เว็บเหล่านี้ทำอันดับสูงอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการของ Black Hat SEO โดยใช้วิธีการซื้อ Link จากเว็บที่มี PR สูงจำนวนมาก และโดยจากการปั่น Link ที่มาจากการ Spam ตามเว็บไซต์ต่างๆ ในการดันอันดับให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นหากต้องการที่จะทำให้เว็บหลุดออกจาก Google Sandbox ให้ได้เร็วที่สุดก็คือทำเว็บให้ดีที่สุด มีคุณภาพที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ Update เว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง โดยเขียนบทความ หรือเนื้อหาที่มีคุณภาพขึ้นเอง (Unique Content) โดยไม่ซ้ำกัน (Duplicate Content) สร้าง Link Popularity ที่มีคุณภาพจาก Web Site ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน และมี PR สูง โดยทำให้เป็นธรรมชาติมากที่่สุด เพราะการทำ SEO จำเป็นต้องใช้เวลา เพียงเท่านี้ก็จะหลุดจาก Google Sandbox ภายในระยะเวลาไม่นานครับ

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีหลีกเลี่ยงเว็บไซต์จาก Google Sandbox

1.ถ้าคุณคิดจะทำการจดทะเบียนโดเมนเนม และทำ Website ก็ควรจะรีบจดทะเบียนทิ้งเอาไว้ และก่อนที่จะทำเว็บไซต์เสร็จสมบูรณ์ อาจจะทำไว้ไม่กี่หน้า ถึงแม้ยังไม่มีเนื้อหามากก็ไม่เป็นไรถ้า Google ทำการ Index เว็บไซต์แล้วค่อย เพิ่มเนื้อหาของเว็บไซต์ ลงไปทีหลังก็ได้
2.หลังจาก Index แล้วก็รอให้ผ่านช่วง Sandbox Effect ซึ่งอาจใช้เวลา 4 - 6 เดือน
3.สร้างลิ้งเว็บไซต์ ให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ โดยไม่โตเร็วเกินไปจนผิดสังเกต ค่อยเป็นค่อยไป
4.Promote โดยให้อ้าง Link จาก เว็บที่ (PR) Pagerank สูง และมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน

จะติด Sandbox Effect ตอนไหน ?

เราจะติดตอนที่ Googlebot เข้ามาพบเว็บของเราเป็นครั้งแรก ระบบ Filter Sandbox Effect จะทำงานทันที ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการจดโดเมน เราอาจจะจดมานานแล้วก็ได้ หากไม่พบเว็บไซต์ท่านก็ยังถือว่า ยังไม่มีเว็บหนะครับจะไม่มีการติด Sandbox Effect เพราะท่านยังไม่มีเว็บ Online แต่เมื่อใดที่เรา Online แล้ว (เปิดเว็บไซต์บน Internet) กล่องทรายจะเข้ามาควบคุมสถานการณ์ทันที Sandbox Effect

เครดิต jongjarern

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

Sandbox Effect คือ ?

Sandbox Effect คือ ตัวกรองเว็บไซต์ หรือ ระบบการกรองข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ คล้าย ๆ กับ Web Filter ที่ใช้กรองเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มุ่งหวังในการทำให้ติดอันดับใน Search Engine อย่าง Google
กระบวนการต่าง ๆ ของการกรองข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดการพัฒนาเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เพราะว่าเว็บใหม่ต่าง ๆ หรือ เว็บที่เกิดใหม่ต่าง ๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยหลักการของ Sandbox Effect คือ จะทำการกักเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกิดใหม่จนกว่าจะมั่นใจว่ามีความน่าเชื่อถือแล้ว ตามกฏเกณฑ์ก็คือย่างน้อย 4 - 6 เดือน เว้นแต่เว็บไซต์หรือ Blog นั้น ๆ ได้รับความน่าเชื่อถือมาก ๆ และ มีเว็บที่มีความน่าเชื่อถือลิงค์มาหาเป็นจำนวนมากพอสมควร

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

Google Sandbox คือ ?

Google Sandbox เป็นฟิลเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่ทาง Google พัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดถึงระดับ ของความยากง่าย ในการติดอันดับดีๆ ในเสิร์ชเอนจิ้น ของเว็บไซต์ใหม่ๆ เมื่อใช้คีย์เวิร์ดที่มี อัตราการแข่งขันสูง ซึ่ง Sandbox จะช่วยให้ Google ป้องกันการ Optimization เว็บไซต์ที่เพิ่ง จดทะเบียนโดเมนเนม ใหม่ๆ ไม่ให้ติดอันดับดี เร็วเกินไป จัดทำขึ้นเพื่อทำการคัดกรองเว็บไซต์ด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นจำนวนมากในเวลา อันสั้น ซึ่งปัญหาหลักที่เขาได้ตระหนักถึงคือ มีเว็บจำนวนหนึ่งเป็นเว็บด้อยคุณภาพ หรืออาจจะไร้คุณภาพเลย เว็บจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Spam หากทาง Google ปล่อยให้เว็บเหล่านี้อยู่ในฐานข้อมูลของเขา ก็เหมือนกับเก็บขยะเอาไว้ในบ้าน
Google Sandbox คือช่วงเวลาทดลองว่าเว็บไซต์ มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ เนื่องจาก Google ต้องการไม่ให้คนที่เพิ่งจะทำ SEO มีความใจร้อนมากเกินไป เพราะหลายคน ต้องการ เห็นเว็บไซต์ของตัวเองติดอันดับเร็วๆ เลยทำการซื้อลิ้งค์ จากเว็บไซต์ที่มี PageRank สูงๆ เยอะๆ แต่เมื่อเว็บไม่ติดอันดับ ก็ล้มเลิกความตั้งใจไป ด้วยเหตุนี้ Google จึงหาวิธีโดยการให้เว็บใหม่ๆ ติดอันดับได้ยาก อาจจะใช้เวลาประมาณ 4 - 6 เดือน กว่าที่ Google จะปล่อยให้หลุดจาก Sandbox ไปได้

เครดิต template-stores.com

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเภทของ Link Popularity

กฏของ SEO ได้จำแนกรูปแบบของ Link Popularity เป็นหลากหลายประเภท แต่ที่มีประโยชน์ที่สุดจะเพียง 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

One-Way Link
1-Way Link เป็นการแจก Links ไปทางเดียวโดยไม่ต้องการ Links กลับมาหาเรา เช่น เว็บไซต์ ความรู้ SEO ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ เช่าทรัส แต่ว่าเว็บไซต์ เช่าทรัส ไม่ได้ทำ Links ให้กับมาที่เว็บ ความรู้ SEO

Two-Way Links
2-Way Links การพ่วง Links แบบสองทาง เช่น เว็บไซต์ ความรู้ SEO ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ เช่าทรัส และ เว็บไซต์ เช่าทรัส ได้ Links กลับไปหาเว็บไซต์ ความรู้ SEO คืน

Three-Way Links
3-Way Links แน่นอน Links สามเศร้า เช่น เว็บไซต์ ความรู้ SEO ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ เช่าทรัส แล้วเว็บไซต์ เช่าทรัส ก็ส่งให้เว็บไซต์ ทาสีคอนโด ก็ได้ Link กลับไปหาเว็บไซต์ ความรู้ SEO

ซึ่งการทำ One-Way Link และ Three-Way Links ตามตัวอย่างข้างต้น จะส่งผลดีให้กับเว็บไซต์ เช่าทรัส ในฐานะเว็บคนกลาง มากกว่าการทำ Two-Way Links ในมุมมองของ SEO ซึ่งตรงๆเลยว่า เราควรเป็นคนกลางที่จะมีคน Links เข้ามาและก็จ่ายให้ Link ออกไปอ้อมๆกลับคืน

ประโยชน์ของ Link Popularity ก็ มีอยู่ไม่มากครับ การที่มี Links เข้าหาเว็บไซต์มากๆ เป็นหลายๆ Links ทำให้โอกาสที่ Robot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ เรามากขึ้นมีมาก และนอกจากนี้ก็ยัง เพิ่มโอกาส ของผู้ที่สนใจผ่าน Links เข้ามาหาดูข้อมูลทำให้เกิดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น อีกทั้งจำนวน Links ที่เชิญคนเข้ามาชมเว็บไซต์เราเยอะๆนั้น ก็ทำให้ความน่าเชื่อถือเว็บไซต์ เราดีขึ้นอีกต่างหาก

เครดิต daydev

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Link Popularity สำคัญอย่างไร ?

หากเว็บไซต์ของเรามี Link Popularity ที่สูง จะทำให้เว็บไซต์ค้นหาเจอโดยง่าย เพิ่มโอกาสให้เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ต่างๆ เข้ามาสำรวจเว็บไซต์เราบ่อยขึ้น เพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของเรามีจำนวนผู้เยี่ยมชมเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์อีกด้วย ปัจจุบันเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ให้ความสำคัญกับ Link Popularity เป็นอย่างมาก

เครดิต truehits.net

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

Link Popularity คืออะไร ?

Link Popularity แปลว่า ความนิยมเว็บไซต์ เป็นการใช้วัดค่าความนิยมของเว็บไซต์เรา ว่ามีจำนวนเว็บไซต์ หรือกี่เว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรา Link Popularity ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ SEO เลยทีเดียว
Link Popularity ส่งผลดีเป็นอย่างมากในการจัดอันดับบนเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ยิ่งเว็บไซต์เรามี Link Popularity สูง ก็มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่า หรือดีกว่าเว็บไซต์ที่มี Link Popularity ต่ำกว่า

เครดิต truehits

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

Pligg คืออะไร ? ตอนที่ 2

Pligg เดิมชื่อ menéame ในภาษาสเปน เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ช่วยให้คุณสามารถ ส่งบทความที่ถูกแนะนำจากทุกคน และเป็นการโฆษณาไปในตัว, โดยอาศัยตามความนิยมเพื่อไปแสดงที่หน้าหลัก เมื่อสมาชิกทำการส่งข่าว บทความจะถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะ “ไม่เผยแพร่” จนกว่าจะได้รับคะแนนเสียงเพียงพอที่จะทำให้ไปแสดงที่หน้าหลัก ต้นฉบับแหล่ง Pligg ถูกเขียนโดย Ricardo Galli ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลสุดขีดจากเทคโนโลยี เป็นที่เป็นที่นิยมคือเว็บไซต์ digg.com จากอังกฤษ
Pligg หนึ่งในการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่จะทำช่วยให้เว็บไซต์สามารถขึ้นอันดับบน Search Engine ได้ดีขึ้น หรือหากต้องการให้มีคนเข้าชมเว็บเพิ่มขึ้น ให้ลองใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Bookmark แล้วทำไมทำให้อันดับเว็บบน Search Engine ดีขึ้น? เพราะเป็นการเพิ่ม Backlink ให้แก่เว็บที่ถูก Post ลงไปบนเว็บ Social Bookmark นั้นเอง ยิ่งถ้าเป็นเว็บที่มี PR สูงแล้วยิ่งทำให้เราได้ Link ที่มีคุณภาพอีกด้วย

เครดิต blog.fukduk.tv

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

Pligg คืออะไร ? ตอนที่ 1

Pligg อ่านว่า พลิกก์ คือ โอเพนซอร์ส คอนเทน แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม หรือเรียกสั้นๆ ว่า CMS ภาษาไทยเรียกว่า ระบบจัดการเนื้อหา โดยคุณสามารถดาวน์โหลด และใช้งานได้ฟรี พลิกก์ CMS เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานด้าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เพื่อให้คนที่มาลงทะเบียนเป็นสมาชิกเว็บไซต์ สามารถส่งเนื้อหาเข้ามายังเว็บ และติดต่อกับเพื่อนคนอื่นๆ ได้ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ สามารถนำไปสร้างเป็นเว็บไซต์ที่เอาไว้เก็บเรื่องราวบนเว็บ อื่นๆ ที่น่าสนใจ และให้เพื่อนสมาชิกโหวตให้คะแนนกันได้ แต่ไม่ใช่เว็บที่เอาไว้เขียนเรื่องราวต่างๆ ใช้ พลิกก์ (Pligg) คอนเทน แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม เพื่อเริ่มทำ กลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้ในไม่กี่นาที Pligg เป็น Web Submit Social Bookmark อย่างหนึ่ง ใช้ Submit เว็บ ทำให้ได้ BackLink, PageRank,ฺ Bot และก็ Traffic ครับ ซึ่งมีผลทาง SEO ด้วย

เครดิต pligg.in.th

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Social Bookmark คืออะไร ? ตอนที่ 2

สำหรับเว็บ Social Bookmark นั้นมีในสังคมอินเตอร์เน็ตของเมืองไทยมานานหลายปีแล้ว แต่กลับได้รับความนิยมอยู่เพียงช่วงหนึ่ง แต่แล้วก็เหมือนเงียบหายไป เพราะความนิยมลดลงจนทำให้เว็บ Social Bookmark หลาย ๆ แห่งปิดตัวลง (เชื่อว่าเพื่อน ๆ บางท่านคงเคยได้มีโอกาสใช้เว็บไซต์ประเภทนี้)
จนกระทั้งเมื่อมีผู้ใช้นำเว็บ Social Bookmark มาใช้ในการทำ SEO เพื่อโปรโมทเว็บไซต์แบบ Off Page จึงทำให้เว็บ Social Bookmark เกิดใหม่อีกครั้ง และได้รับความนิยมอย่างสูงในการใช้โปรโมทเว็บไซต์ และหลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่า เว็บประเภท Social Bookmark กลายเป็นช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ ของ Webmaster หรือ Promoter จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่งแค่อย่างเดียว (จุดประสงค์การใช้งานเปลี่ยนไป บุคคลที่ใช้งานคือคนที่ต้องการเผยแพร่เว็บไซต์)
ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้สร้างเว็บ Social Bookmark ขึ้นมามากมาย ทั้งนี้เพราะคนสร้างเว็บเหล่านี้ ต้องการสร้างเว็บที่ใช้สำหรับสร้าง Back Link ขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะผู้ใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Bookmark ในปัจจุบัน ก็จะมีแค่ 2 ประภท คือ
1. Webmaster หรือเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการโปรโมทเว็บ เพื่อทำ Back Link จากเว็บไซต์ Social Bookmark
2. ผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป ที่ทำการ Search ข้อมูลจาก Search Engine ต่าง ๆ และคลิกข้อมูลเข้ามายังเว็บไซต์ Social Bookmark ซึ่งปรากฏข้อมูลของผู้ใช้ในข้อ 1
สำหรับข้อดีของการโปรโมทผ่าน Social Bookmark นั้น เนื่องจากเว็บประเภท Social Bookmark นั้นตัวเว็บจะถูกปรับแต่งให้ถูกหลัก SEO อยู่แล้ว และประการที่สองคือ ตัวเว็บมีการอัพเดตข้อมูลถี่มาก ๆ (เพราะมีคนในกลุ่มที่ 1 ที่ตั้งใจเข้าเว็บมาเป็นประจำ และมีประเภทที่ 2 ก็เข้ามาในปริมาณที่มาก) และเมื่อมีปริมาณคนเข้าเว็บมาก ทั้งจากเข้าโดยตั้งใจแบบพิมพ์เข้ามาตรง ๆ และการเข้ามาผ่าน Search Engine จากทั้งสองประการทำให้เว็บมี Bot เข้ามาเยี่ยชมเว็บ Social Bookmark บ่อย ๆ ตามไปด้วย และเมื่อมีจำนวนคนใช้งานที่มาก ก็เป็นผลทำให้การจัดอันดับข้อมูลในเว็บ Social Bookmark (เว็บที่คนประเภทที่ 1 โปรโมทไว้) ดีไปด้วย
เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ คนที่ใช้เว็บ Social Bookmark โปรโมทเว็บต่าง ก็ กำหนดให้บุคคลทั่วไป เห็นข้อมูลทั้งหมด เพราะ Bot ก็จะเห็นข้อมูลด้วย ซึ่งเชื่อว่าแทบจะไม่มีใครกำหนดสิทธ์แบบส่วนตัวอีกแล้ว เพราะงั้น ถ้าไปโปรโมทในเว็บ Social Bookmark ก็จำไว้ว่าต้องเลือกแบบ public เท่านั้น ไม่งั้น ก็โพสต์ฟรี ไม่ได้ Back Link แล้วจะเมื่อยมือซะปล่าว ๆ

เครดิต thainextstep

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

Social Bookmark คืออะไร ? ตอนที่ 1

บางคนคงจะเคยได้ยินคำๆ นี้มาบ้าง หรือ บางคนอาจจะเคยรู้จักกับคำว่า Bookmark ซึ่งถูกใช้บ่อยๆ เมื่อเจอเว็บที่ชอบ แล้วต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง เพื่อที่ในวันหลังจะได้เข้าเว็บไซต์นี้ได้อีก ซึ่งเราเรียกการเก็บ URL เว็บไซต์แบบนี้ว่าการทำ Bookmark หรือ Add Favorite ซึ่งเมื่อเรา Bookmark หรือ Add Favorite ไว้แล้ว เราสามารถเข้าไปเรียก URL ต่างๆ ได้ จากการคลิกดูใน Favorite บรืเวณ Menu Bar
แต่การ Bookmark หรือ Add Favorite นั้น เราจะเปิดดูข้อมูลที่เราเก็บไว้ขึ้นมาดูได้ ก็ต่อเมื่อเราใช้เครื่องเดิมเท่านั้น หากเราไปใช้งานเครื่องอื่น ๆ เช่นที่ร้านอินเตอร์เน็ต ที่มหาวิทยาลัย หรือที่โรงเรียน ก็จะไม่มีข้อมูลที่เก็บไว้ ซึ่งก็มีบริการอีกแบบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเราเรียกว่าเว็บ Social Bookmark โดยเมื่อเราสมัครสมาชิกกับเว็บ Social Bookmarkแล้ว เราจะได้ Username และ Password สำหรับเข้าใช้งานระบบขอเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำข้อมูล URL ที่เราสนใจไปเก็บไว้ในระบบของเว็บ Social Bookmark ได้ ซึ่งไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนบนโลก หากมีอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าระบบของเว็บ Social Bookmark เพื่อเข้าไปดูข้อมูล URL ที่เก็บไว้ได้
นอกจากนี้แล้ว เว็บ Social Bookmark ยังมีระบบจัดการ ซึ่งนอกจากเราเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลแล้ว เรายังสามารถกำหนดสิทธ์การใช้งานข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้อีกด้วย อย่างเช่น เราอยากได้ความเป็นส่วนตัว ก็สามารถกำหนดได้ว่า ต้องล็อกอินเท่านั้นถึงจะเห็นข้อมูล หรือเราเห็นว่าเป็นเว็บที่มีประโยชน์ อยากแบ่งปันให้คนอื่น ๆ ได้รู้จักด้วย เราก็สามารถกำหนดให้บุคคลทั่วไป หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ที่ใช้เว็บ Social Bookmark ได้เห็นข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้ด้วย
ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น ทำให้การ Bookmark ผ่านเว็บกลายเป็นเสมือนสังคมสังคมหนึ่ง ที่มีการติดต่อ แบ่งปัน นอกจากนี้ก็อาจมีการแสดงความคิดเห็น การโหวตคะแนนให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ที่เราชอบ หรือได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เค้าได้เก็บไว้ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Social Bookmark

เครดิต thainextstep

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2554


"รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" คำขวัญวันเด็กในปีนี้จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดของคำขวัญนี้ว่า
          รอบคอบ - เนื่องมาจากปัจจุบัน มีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ มากมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เห็นว่า เยาวชนไทยต้องรู้รอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจทำสิ่งที่เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคมได้ในอนาคต
          รู้คิด - เมื่อเยาวชนไทยเรียนรู้รอบด้านแล้ว ต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงอยากให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย
          จิตสาธารณะ - สังคมต้องพึ่งพิงกัน เห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน การปลูกฝังจิตสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม โดยต้องเริ่มที่เด็ก ๆ เยาวชนไทย

Submit Sitemap อย่างง่ายๆ กับ Ask

สำหรับการ Submit Sitemap กับ Ask Search Engine ชื่อดังอีกยี่ห้อนึง จะแตกต่างจาก Search Engine ชื่อดังอื่นๆที่กล่าวมา เช่น Google, Yahoo และ Bing เนื่องจากต้องมีการสมัคร Account แต่ของ Ask ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้าง Account เพียงแค่กรอก Ping URL ที่ช่อง Address Bar ของ Web Browser ของเรา เพียงแ้ก้ไขตรงตัวอักษรสีแดงเป็นชื่อเว็บไซต์ของท่าน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ครับ "http://submissions.ask.com/ping?sitemap=YOURWEBSITE/sitemap.xml" หลังจากทำการ Submit Sitemap เสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีข้อความแจ้งยืนยันจาก Ask ว่า "Your Sitemap Submission Was Successful" ดังภาพตัวอย่างครับ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ง่ายๆไม่ยากเลยใช่ไหมครับ

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

Submit Website และ Sitemap ง่ายๆ กับ Bing ตอนที่ 2



หลังจากที่เราทำการ Submit Website ของเราให้ Bing รู้จักกับเว็บไซต์ของเราแล้วต่อไปเป็นการ Submit Sitemap ของเราเพื่อให้ Bingbot ได้ทำการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น โดยการเลือกคลิ๊กที่ Website ของเราที่จะกับการ Submit Sitemap



ขั้นตอนต่อไป บริเวณ Tab ด้านบนให้เลือก Crawl จากนั้นบริเวณ Menu ทางด้านซ้ายคลิ๊ก Sitemap


ลำดับต่อไป ให้คลิ๊กคำสั่ง Add Site ซึ่งจะอยู่บริเวณตรงกึ่งกลางของหน้าจอ จะมีหน้าต่างให้เรากรอก URL ให้เรากรอก URL ของเราและต่อท้ายด้วย /sitemap.xml (ตัวอย่าง http://www.yoursite.com/sitemap.xml) คลิ๊ก Submit และให้เรากรอก URL ของเราและต่อท้ายด้วย /sitemap.xml.qz เป็นอันเสร็จเรียบร้อย *ทั้งนี้เราต้องจะต้องสร้างไฟล์ Sitemap และ Upload ไฟล์ sitemap.xml และ sitemap.xml.qz ไปไว้ที่ Host ของเว็บไซต์ของเราก่อนที่จะทำการ Add Sitemap ครับ*

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

Submit Website และ Sitemap ง่ายๆ กับ Bing ตอนที่ 1



ขั้นตอนแรก ให้เข้าไปที่ http://www.bing.com/webmaster คลิ๊กที่ช่อง Sign in to use webmaster tools ดังกรอบสีแดงในรูปด้านล่าง


ขั้นตอนที่สอง เช่นเดียวกันเราต้องมี Account หรือ Windows Live ID เสียก่อนถ้าไม่มีก็ทำการสมัครเลยครับง่ายๆไม่กี่ขั้นตอน (ตรงช่อง Don't have a Windows Live ID?) ในที่นี่เรามี ID อยู่แล้วก็กรอกเลยครับ คลิ๊ก Sign In



ขั้นตอนที่สาม บริเวณกึ่งกลางหน้าจอให้คลิ๊กคำสั่ง Add Site พิมพ์ URL ของเว็บไซต์ของเราที่จะ Submit ลงไป



ขั้นตอนที่สี่ เป็นขั้นตอน Verify ยืนยันว่าเราเป็นเจ้าของ Website ที่เราทำการ Submit จริงโดยมีให้เลือก 2 ตัวเลือกในที่นี่ให้เราเลือก Option ที่ 2 และ Copy คำสั่ง <meta name...> ไปไว้ระหว่าง <head> และ <title> หน้าแรกของ Website ของเรา (index.php หรือ index.html) จากนั้นกลับมาที่หน้า Verify Ownership คลิ๊ก Verify เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ จากนั้นก็รอให้ BingBot มา Crawl และ Index เว็บไซต์ของเรานะครับ


หลังจากที่ Bingbot มาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์เราแล้ว เราสามารถที่จะเข้ามาดูรายงานต่างๆได้โดย Login เข้าที่ Account ของเราที่สมัครเอาไว้นะครับ เช่น Crawl, Index หรือ Traffic Stats

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

Submit Website และ Sitemap ง่ายๆ กับ Yahoo


ขั้นตอนแรก ขั้นตอนคล้ายๆกับของ Google นะครับ คือเราต้อง Upload ไฟล์ sitemap.xml และ sitemap.xml.qz ของเราไปไว้ที่ Host ของ Website เราซะก่อน จากนั้นให้เราไปที่ http://siteexplorer.search.yahoo.com/submit จากนั้นในช่อง Submit Your Site ให้คลิ๊ก Submit Site Feed ให้เรากรอก URL ของ Website ของเราและตามหลังด้วย /sitemap.xml ตัวอย่าง http://www.yoursite.com/sitemap.xml จากนั้นคลิ๊ก Submit Feed


ขั้นตอนที่สอง ให้เรากรอก Yahoo Account ของเรา ถ้าไม่มีก็ทำำการสมัครเลย จากนั้นตรงช่อง Site Explorer ให้เรา Click ที่ My Site จะมีชื่อ Website ของเราที่กรอกในตอนแรกขึ้นมา


ขั้นตอนที่สาม จะเป็นขั้นตอนในการ Verify เว็บไซต์ หรือขั้นตอนของการยืนยันในการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ของเรา ทางด้านซ้ายมือในช่อง Site Explorer จะมีคำสั่ง Authentication ให้ Click จากนั้นให้เลือกวิธีการยืนยันของเราในที่นี้ให้เลือก By adding a META tag to my home page คลิ๊ก จากนั้น Copy ในส่วนของ <META name...............> ไปไว้ที่ index.php หรือ index.html ที่เป็นไฟล์หน้าแรกของเรา ในส่วนระหว่าง <head> และ <title> จากนั้น Click Save และกลับมาที่หน้า Submit คลิ๊ก Ready to Authentication


ขั้นตอนที่สี่ จากนั้นทางด้านซ้ายมือตรงช่อง Site Explorer ให้เราเลือก My Site และเลือก Website ที่จะทำการ Submit จากนั้นคลิ๊กทางด้านซ้ายมือตรงช่อง Site Explorer ให้เลือก Feed บริเวณตรงกลางจะมี URL ของ Website ที่เราจะ Submit ทางด้านหลังให้พิมพ์ sitemap.xml.qz คลิ๊ก Add Feed เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ


ถ้ายังไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่ให้ลองดู Video สอนการ Submit Sitemap กับ Yahoo สำหรับ Blogger ประกอบก็ได้ครับวิธีคล้ายๆกัน


วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

สวัสดีปีใหม่ 2554 ครับ ^^


เวียนบรรจบครบศักราชตั้งปีใหม่ ขออวยชัยอวยพรอักษรศรี
ขอทุกท่านพบพานแต่สิ่งดี มีชีวีสุขสดใสชีพชื่นบาน
ให้สุขภาพสมบูรณ์ทั่งกายใจ ให้ปลอดภัยแคล้วคลาดประสาทประสาน
งานรุ่งเรื่องเงินรุ่งโรจน์ชัชวาล สนุกสนานอภิรมย์สมใจปอง
ปีผ่านไปให้ผ่านพ้นตั้งต้นเริ่ม ที่ดีเพิ่มที่ร้ายลืมไม่มัวหมอง
ปรุงแต่งจิตพิชิตใจไร้ขุ่นข้อง เปิดสมองรับสิ่งใหม่สดใสพลัน
คิดสิ่งใดลุล่วงสำเร็จได้ ขอเทพไทสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญ
เกิดปัญหาได้ปัญญาเป็นที่มั่น ให้สร้างสรรค์รับสิ่งดีปีใหม่เอย..

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

Submit Website และ Sitemap ง่ายๆ กับ Google

ต่อกันเลยนะครับ จากบทความที่แล้ว หลังจากที่เราได้ sitemap.xml และ sitemap.xml.qz รวมทั้งได้ทำการ Upload ไปไว้ที่ Host ของเว็บไซต์ของเราแล้ว ให้ไปยังหน้า Google Webmaster tools โดยเข้าที่ https://www.google.com/webmasters/tools/home?hl=th โดยเราควรจะมี Gmail Account เรียบร้อยแล้ว เพื่อความสะดวก แต่หากไม่มีก็ควรจะสมัคร Gmail ให้เรียบร้อยครับ
ขั้นตอนแรก ทำการ Login Gmail Account ของเรา จากนั้นเลือก Add a Site เพื่อทำการเพิ่ม Site ที่จะทำ Sitemap โดยกรอก URL เว็บไซต์ของเรา
ขั้นตอนที่สอง ทำการ Verify เว็บไซต์เพื่อยืนยันว่าเป็น Website ของเรา โดยสามารถที่จะำทำการยืนยันได้หลายวิธีในที่นี้จะทำการยืนยันผ่าน HTML File โดยทำการ Download This HTML Verification File มาไว้ที่เครื่องของเรา และ Upload ไปไว้่ที่ Host เว็บไซต์ของเรา หลังจากนั้นกลับมาที่หน้า Google Webmaster tools และกด Verify เพื่อทำการยืนยัน
ขั้นตอนที่สาม จากนั้นเลือกเว็บไซต์ี่ที่เราต้องการ Submit Sitemap (ในที่นี้จะเป็นเว็บที่เราเพิ่งจะ Verify ไป) จะมาที่หน้า แผงควบคุม หรือ Dashboard เพื่อทำการ Submit โดยคลิ๊กที่ Submit a Sitemap พิมพ์ sitemap.xml ต่อท้าย คลิ๊ก Submit Sitemap และพิมพ์ sitemap.xml.qz ต่อท้าย คลิ๊ก Submit Sitemap เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ง่ายๆไม่ยาก และใช้เวลาไม่มาก แต่มีผลในทาง SEO ค่อนข้างดีครับ


วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

สร้าง Sitemap อย่างง่ายๆ ด้วยเว็บ xml-sitemaps.com


ลำดับแรก คือเข้าไปที่ http://www.xml-sitemaps.com เลื่อนลงมาทางด้านล่างจะเจอช่อง Starting URL ให้ใส่ URL ของเว็บที่จะทำ Sitemap ลงไป


ลำดับที่สอง เลื่อนลงมาทางด้านล่าง แล้วกดปุ่ม Start จากนั้นก็รอซักพัก (ขึ้นอยู่กับขนาดของเว็บ และจำนวนเพจ) ทั้งนี้จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500 Pages เมื่อทำการประมวลผล เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปเลยครับ



ลำดับที่สาม ไฟล์ที่เราต้องการคือไฟล์ sitemap.xml ซึ่งจะอยู่้ในหัวข้อ Download un-compressed XML Sitemap และ sitemap.xml.qz ซึ่งจะอยู่้ในหัวข้อ Download compressed XML Sitemap ให้ทำการ Save ไฟล์เก็บไว้ในเครื่องของเราเพื่อทำการ Upload ไปเก็บไว้ที่ Host ของเว็บไซต์ของเราเพื่อทำการ Submit Sitemap กับ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google Yahoo Bing และ Ask ในบทความต่อไปครับ

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Sitemap ในเว็บไซต์

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Sitemap ในส่วนของ Search Engine นั้นจะช่วยเพิ่มโอกาศในการ Index ให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม และในส่วนของผู้ใช้งานนั้นจะเป็นในรูปแบบความสะดวกในการรับรู้โครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ ซึ่งในส่วนของผู้ใช้งานนี้ทางเว็บไซต์ควรจะมีปุ่ม Link ไปยังหน้า Sitemap ในจุดที่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ ด้วย จากประโยชน์อันมากมายมหาศาลที่ได้รับจากการทำ Sitemap Webmaster จึงควรเสียสละเวลาเพียงน้อยนิดในการทำ Sitemap เพื่อผลทางด้าน SEO

เครดิต sutenm

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเภทของ Sitemap ?

ตรงนี้จะให้ทำความเข้าใจกับ Sitemap ก่อนว่า
- ทำไม Sitemap จะต้องมีการแบ่งประเภทด้วย ?
เหตุที่ต้องแบ่งนี้เพราะว่าเว็บไซต์ที่ดีควรจะมี Sitemap เพื่อให้ Search Engine อ่าน และผู้ใช้งานทั่วไปอ่าน ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีก็ควรจะมี Sitemap ทั้งสองรูปแบบ
- เอาอะไรมาตัดสินในการแบ่งประเภทกันแน่ ?
โดยปกติแล้วหากเราต้องการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine เราจะต้องทำให้ Sitemap ของเราอยู่ในรูปแบบของภาษา XML ซึ่งจะทำให้ Bot หรือ Spider ของ Search Engine สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ว่านี้คือ Sitemap ตัวอย่างของ Sitemap ในรูปแบบ XML ที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น  sitemap.xml

ส่วน Sitemap สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปก็ควรจะเป็นหน้าที่เรียบๆ ง่ายๆ สามารถดูแล้วเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ทั้งหมดได้ว่าเว็บไซต์นี้มีอะไรบ้าง โดยควรให้เว็บไซต์ดูเรียบง่าย สวยงาม และให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงหน้า Sitemap นี้ได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น sitemap.html

เครดิต sutenm