G+

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

DoFollow และ NoFollow คืออะไร ?

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO หรือการโปรเมทเว็บไซต์ของเราก็คือ Backlink ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Backlink กันให้มากขึ้นว่าเราไปสร้าง Backlink เพื่อโปรโมทกับเว็บไซต์ต่างๆนั้นเราได้เป็น Backlink ประเภทไหนกันครับ Backlink แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทก็คือ Backlink แบบ DoFollow และแบบ NoFollow
เรามาเริ่มต้นกันที่ DoFollow ก่อนละกันครับ Backlink ประเภทนี้เป็นลิงค์ที่ถือว่าดีที่สุดในการทำ SEO เพราะว่าเราจะได้รับทั้ง Traffic จากการที่เราฝากลิงค์ไว้และได้รับความสนใจจากผู้พบเห็นคลิ๊กตามลิงค์มา อย่างที่สอง RoBot เราจะได้ Robot หรือ Spider ของ Serch Engine ที่เข้ามาเก็บข้อมูลหน้า Page ที่เราฝากลิงค์นั้นๆไว้ไต่ตามลิงค์มาที่เว็บไซต์ปลายทางของเราเพื่อทำการเก็บข้อมูล หรือ Index และเปลี่ยนมาเป็น Backlink อย่างที่สาม เราจะได้รับการคำนวนค่า PR หรือ PageRank ค่าคะแนนจากเว็บต้นทางด้วย เพราะฉะนั้นถือได้ว่าลิงค์ประเภท DoFollow เป็น Backlink ที่เหมาะที่สุดและเยี่ยมสุดในการทำ SEO
รูปแบบลิงค์ชนิด DoFollow <a href=”http://yourwebsitename”>yourlinkname</a>
ที่นี่เรามาดูลิงค์แบบ NoFollow ลิงค์ประเภทนี้เราจะได้รับ Traffic จากการที่เราฝากลิงค์ไว้กับเว็บไซต์ต้นทางคล้ายลิงค์แบบ DoFollow รวมทั้ง เราจะได้รับการเก็บข้อมูลจาก Robot ของ Serch Engine ไต่ตามลิงคค์ตามเข้ามาเก็บข้อมูล หรือ Index ข้อมูลของเราและเป็น Backlink แต่ข้อแตกต่างจากลิงค์แบบ DoFollow ก็คือ เราจะไม่ได้รับการคำนวนค่า PR (PageRank) หรือค่าคะแนนของ Page จากเว็บต้นทางครับ
รูปแบบลิงค์ชนิด NoFollow <a rel=”nofollow” href=”http://yourwebsitename”>yourlinkname</a>

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

Google Banned

ตั้งชื่อหัวข้อซะน่ากลัวเลยนะครับ แต่เป็นความรู้ SEO ที่น่าสนใจมากในช่วงนี้ เรามาพูดถึงเรื่องการถูก Google Banned กันเพราะเนื่องจากตั้งแต่การปรับเปลี่ยน Algorithm ใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Panda ก็ได้ข่าวคราวเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่างๆที่ทำผิดกฎ หรือผิดเงี่อนไขโดยตรงของ Algorithm ตัวใหม่ ถูกลงโทษหลายเว็บไซต์ด้วยกัน โดยการลบข้อมูลออกจากฐานข้อมูลทั้งหมดของ Google โดยส่วนใหญ่ที่สังเกตได้จะเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมากจากการทำงานของ Script ต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์หรือผลทางด้านการค้า หรือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาต่าง IP Class C เป็นจำนวนมากแต่มีเนื้อหาข้อมูลทีเหมือนกัน หรือการสร้างลิงค์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ เพื่อวัตถุประสงค์และผลทางด้าน SEO ทีนี่เป็นคำถามยอดนิยมว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราถูกแบนจาก Google ก็มีขั้นตอนง่ายๆ ก็ให้ไปหน้าหลักของการค้นหา Google ลองพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์เราตรงๆดูว่ามีผลการค้นหาขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่แสดงผล ต่อไปก็ให้ลองพิมพ์คำว่า site:yourdomain.com หรือ link:yourdomain.com ตรวจสอบดูว่ามีข้อมูลของเว็บไซต์เราอยู่หรือไม่ถ้าไม่ก็สันนิฐานได้ว่าอาจจะถูกแบนจากฐานข้อมูลของ Google หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบ Google Banned Checker ดูจากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบครับมีหลายเว็บไซต์ที่แนะนำทาง Link ด้านล่างครับ

Google Banned Checker Iwebtool
Google Banned Checker SelfSEO
Google Banned Checker Dnxpert

(หมายเหตุ เป็นการตรวจสอบการแบนเฉพาะเว็บที่มีผลการค้นหาในฐานข้อมูลหรือ Index แล้วนะครับถ้าหากเป็นเว็บไซต์ใหม่สันนิฐานได้ว่ายังไม่ถูกเก็บลงฐานข้อมูลหรือยังไม่ Index ครับ)

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ความสำคัญของ BackLink

ปัจจัยที่สำคัญในอันดับต้นๆของหลายๆตัวแปรในการทำอันดับกับ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google หรือ Search Engine ชื่อดังของค่ายอื่นๆ ก็คงหนีไม่พ้น BackLink เพราะ Search Engine ทั้งหลายจัดอันดับการให้คะแนน และคุณค่าของเว็บไซต์ ส่วนหนึ่งก็มาจากจำนวนของ BackLink นั้นเอง ซึ่งการจะขึ้นไปอยู่ในอับดับที่ดีของเครื่องมือค้นหา ก็คือการหา BackLink เข้ามาที่เว็บไซต์เป็นจำนวนมาก แต่ BackLink ที่เข้ามาก็ควรเป็น BackLink ที่มีคุณภาพหรือมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตรงนี้ Search Engine จะให้คะแนนความน่าเชื่อถือและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การมี BackLink เป็นจำนวนมากนอกจากจะทำให้ผลการค้นหาดีขึ้น Robot เข้ามาเก็บข้อมูลบ่อยขึ้นแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะให้ผู้ชม หรือผู้ที่สนใจแวะเวียนเข้ามาที่เว็บไซต์เราอีก ด้วยการ Click ตาม Link เข้ามา อย่างไรก็ตามนอกจากการหา BackLink คุณภาพแล้วเรายังจะต้องปรับปรุงเว็บไซต์ และ UpDate เนื้อหา (Unique Content) ของเราให้ดีขึ้น มีคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ ให้สอดคล้องกับการหา BackLink แบบธรรมชาติ ถ้าทำได้อย่างนี้ อันดับผลการค้นหาที่ดีขึ้นก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ ConFirm!!

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

สวัสดีปีใหม่ไทย สวัสดีวันสงกรานต์


ในระหว่างวันที่ 13 - 15 เม.ย ตามปฎิทินของไทย ก็จะเป็นวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเรานี่เองที่หลายๆท่านรอคอยเป็นเทศกาลวันหยุดยาวช่วงหนึ่งของไทย ปีนึงได้พักผ่อนกันนานๆซักที ก็ขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ใครที่เดินทางกลับบ้านก็ขอให้เดินทางถึงที่หมายโดยปลอดภัย ใครที่เล่นน้ำก็เล่นกันอย่างสนุก เล่นกันเพลินๆนะครับ มีอะไรกระทบกระทั่งกันนิดหน่อยก็ให้อภัยกันนะครับ เล่่นน้ำก็ระมัดระวังความปลอดภัยด้วย แล้วก็อย่าลืมไปทำกิจกรรมสำคัญตามประเพณีไทยของเราในวันสงกรานต์ด้วยการแสดงความเคารพและความกตัญญู ต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์ แล้วก็ผู้มีพระคุณ ด้วยการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ พร้อมทั้งรับคำอวยพร และขอพรในวันปีใหม่ไทย ทำบุญ ตักบาตร สรงน้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตกับตัวเราเอง และคนที่เรารัก จะได้จิตใจชื่นบานเย็นช่ำกันไปตลอดปี สวัสดีวันสงกรานต์ สวัสดีปีใหม่ไทยครับ พี่น้องชาวไทย

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

TLD คือ ?

เนื้อหาของ ความรู้ SEO ยังคงเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Domain นะครับ เนื่องจากในบทความ SEO ที่แล้วเรามีพูดถึงกัน แต่อาจจะยังมีใครที่ยังไม่ทราบหรือยังไม่เข้าใจ ก็ถือโอกาสเขียนซะเลย มีให้เขียนเยอะจริงๆเจ้า Domain เนี้ยเอาละมาว่ากันต่อเรื่อง TLD (ทีแอลดี) นั้นย่อมาจาก Top-Level Domain หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า โดเมนระดับบนสุด หรือขั้นสูงสุด หน้าที่หรือความหมายของมันจริงๆเราๆก็เห็นกันอยู่บ่อยๆนะครับ ก็คือองค์ประกอบสำคัญที่จะมีอยู่ในส่วนต่อท้ายจากชื่อของทุกๆ Domain Name ของเรานี่แหละเช่น .com .net .info .co.th ซึ่งโดเมนในระดับนี้ยังแบ่งแยกย่อยออกไปเป็นได้อีก 2 แบบหรือ 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะการจัดการและดูแลโดเมนของ ICANN ได้แก่ โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป (General Top-Level Domain: gTLD) ซึ่งก็คือ .com .net .org .biz .info ฯลฯ และโดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (Country-Code Top-Level Domain: ccTLD) หรือโดเมนประจำสัญชาติ เช่น .th ของไทย .fr ของฝรั่งเศลเป็นต้น ซึ่งโดนเมนประจำสัญชาติยังสามารถแยกย่อยแบ่งออกได้อีกตามกำหนดกฎเกณฑ์ของการขอจดทะเบียนของแต่ละชาติ เช่น co.th สำหรับธุรกิจ .go.th สำหรับหน่วยงานราชการเป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาก็เป็นปัจจัย หรืออีกตัวแปรหนึ่งที่สำคัญในการทำ SEO ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ปัจจัยการทำ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ Domain และ Site ตอนที่ 2

Domain Presence In Google News
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมเผยแพร่บริการข่าวของ Google News
Domain Presence In Google Blog Search
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการการมีส่วนร่วมหรือผลมีผลการค้นหาใน Google Blog Search ประเภท Feed
Use Of The Domain In Google Analytics
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลงทะเบียนใช้งาน Google Analytics
Server Geographical Location
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาค หรือภูมิศาสตร์ที่อยู่ที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ เกี่ยวข้องกับผลการค้นหา
Server Reliability/Uptime
ปัยจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสถียรภาพที่ดีของเซิร์ฟเวอร์ไม่ล่มบ่อย ให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
PageRank Of A Page (The Actual PageRank, Not The Toolbar PageRank)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าคะแนนจริงๆของ PageRank ที่ตรวจสอบจริง
The Speed Of The Website
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเร็วของการเรียกข้อมูลของเว็บไซต์
Reputable Hosting Company
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของโฮสที่ให้บริการ เปิดให้บริการมานาน
Geo-Located Results
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ตั้ง ประเทศ ภูมิภาค ของผลการค้นหา
An Active Google Adsense Campaign
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมบริการของ Google Adsense
The Number Of Pages On The Topic Related
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเนื้อหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
Wikipedia Listing?
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีรายชื่อมีข้อมูลอยู่ใน Wikipedia
Listed in DMOZ?
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีรายชื่ออยู่ใน Web Directory DMOZ
Number Of Pages Within Site (More Is Better)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจำนวนหน้าภายในเว็บไซต์ทั้งหมดยิ่งเยอะเท่าไหร่ยิ่งดี
Website Size (Bigger Is Better)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขนาดของเว็บไซต์ยิ่งใหญ่ยิ่งดี

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ปัจจัยการทำ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ Domain และ Site ตอนที่ 1

ปัจจัยการทำ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ Domain และ Site
1. Domain age
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับอายุของโดเมนยิ่งเก่าเท่าไหร่ยิ่งมีความน่าเชือถือมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเก่ายิ่งดี
2. Length of Domain Registration
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความยาวของตัวอักษรของชื่อโดเมนที่ใช้ลงทะเบียนควรที่จะสั้นๆแต่ได้ใจความไม่ยาวจนเกินไป
3. Domain Registration Information Hidden/Anonymous
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการเปิดเผยข้อมูลการลงทะเบียน Domain โดนปิด หรือซ่อนไว้ และไม่ระบุชื่อผู้จดทะเบียนโดเมน
4. Site Top Level Domain (Geographical Focus E.G. Com Versus Co.uk)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับโดเมนระดับบนสุด ดูปัจจัยตามภูมิภาค ภูมิศาสตร์ หรือตามประเทศนั้นๆ เช่นเปรียบเทียบ .Com กับ .Co.uk จะดูมีความน่า เชื่อถือ และอันดับที่ดีกว่าถ้า Search Google ในประเทศ UK ภูมิภาค หรือภูมิศาสตร์นั้นๆ
5. Site Top Level Domain (E.G. .Com Versus .Info)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับโดเมนระดับบนสุดของโดเมน เช่น .Com เปรียบเทียบกับ .Info หรือโดเมนสกุลต่างๆ ความหมาย .Com น่าจะมีความน่าเชื่อถือในสายตาของ Search Engine อย่าง Google มากกว่า .Info
6. Sub Domain or Root Domain?
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์อยู่ใน Main Root หรือ Subdomain
7. Domain Past Records (How Often it Changed IP)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง IP บ่อยแค่ไหน หรือว่าย้ายที่อยู่ Host บ่อยๆนั่นเอง
8. Domain Past Owners (How Often The Owner Was Changed)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความถี่ของการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนมือเจ้าของโดเมนที่ผ่านมาว่าบ่อยแค่ไหน
9.Keywords In The Domain
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการมีคีย์เวิร์ดผสมอยู่ใน Domain Name
10. Domain IP
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ IP ของโดเมน
11. Domain IP Neighbors
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ IP ของโดเมนเพื่อนบ้านที่เชื่อมกัน
12. Domain External Mentions (Non-Linked)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงโดเมนภายนอก ซึ่งไม่ใช่ลิงค์
13. Geo-Targeting Settings in Google Webmaster Tools
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าระบุ ภูมิภาค หรือภูมิศาสตร์ใน Google Webmaster Tools
14. Domain Registraction With Google Webmaster Tools
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนโดเมนกับ Google Web Master Tools
15. The Page Rank of The Entire Domain
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่า PageRank ภายใน Domain ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีการเตรียมพร้อมเผชิญกับ Google Panda Algorithm ตอนที่ 2

หลังจากพอทราบกันคร่าวๆกับความหมายของ Unique Content และการ Update Algorithm ตัวใหม่ของ Google ใน บทความ SEO ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ถึงแนวทางการรับมือและปรับกลยุทธ์การทำเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับ Panda Algorithm ได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการก็คือพยายาม Update เนื้อหาหรือข้อมูลของเว็บให้บ่อยๆ อย่างน้อยวันละครั้ง ทำเว็บเราให้มีคุณภาพมากขึ้น (High Quality Site) โดยการสร้างเนื้อหาให้เป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของผู้ใช้งานเครื่องมือค้นหา หรือคนอ่าน และ Bot ที่เข้ามาทำการเก็บข้อมูล โดยการเขียน Unique Content ที่ไม่ซ้ำกับของใคร ด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะเป็นการ รีไรท์ (Rewrite) โดยการนำบทความที่มีประโยชน์และตรงกับเนื้อหาของเว็บเรามาทำการเขียนขึ้นใหม่ โดยให้เนื้อหาหลักๆ หรือประเด็นหลักที่สำคัญๆยังคงอยู่ เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ หรือจะใช้โปรแกรม Spin บทความที่มีให้ใช้มากมายหลายๆผู้พัฒนาโปรแกรมทั้งของไทย และของต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งในรูปแบบฟรีและเสียตังค์ อาทีเช่น The Best Spinner, Article Spiner, geWrite เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ดูแลหลายๆเว็บไซต์ หรือผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาซึ่งช่วยประหยัดเวลาไปได้เยอะมาก หรือจะหาข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างประเทศและแปลความหมายด้วยท่านตัวเอง หรือผ่านเครื่องมือการแปลก็ดี แต่อย่างไรก็ตามการเขียนเนื้อหาให้ Unique Content ด้วยข้อมูล หรือจากประสบการณ์ที่เราหามาด้วยตัวเราเองก็เป็นความภูมิใจและเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

Unique Content คืออะไร ?

หลายคนอาจะยังไม่เข้าใจเลยขอโอกาสอธิบาย และทำความเข้าใจกันก่อนที่จะอ่าน บทความ SEO และ ความรู้ SEO ตอนที่ 2 รับมือกับ Google Panda Algorithm ว่า Unique Content คืออะไร ? Unique Content ก็คือเนื้อหาคุณภาพที่เราค้นคว้าหาข้อมูลและเขียนขึ้นเอง หรือปรับแต่ง (Rewrite) ขึ้นเอง เป็นเนื้อหาแรก หรือเนื้อหาต้นฉบับที่ไม่ซ้ำกับของใคร และถูก Index เข้าฐานข้อมูลของ Search Engine เป็นที่แรก ซึ่ง Unique Content เป็นสิ่งที่ Bot ของ Search Engine ชอบ และปราณนาที่สุด และเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งเช่นกันสำหรับ การทำ SEO ดังคำพูดที่ว่า "Content is King and Link is Queen" ครับ